แผนพัฒนาท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566-2570)
ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ
อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน |
………………………………
(๑) ด้านกายภาพ
|
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบลตำบลนาเจริญมีเนื้อที่ทั้งหมด 55 ตารางกิโลเมตร หรือ 34,375 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมประมาณ 20 กิโลเมตรและศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีทางทิศเหนือ ประมาณ 45 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟ 710 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ 655 กิโลเมตร
เนื้อที่
ตำบลนาเจริญมีเนื้อที่ทั้งหมด 55 ตารางกิโลเมตร หรือ 34,375 ไร่ แยกเป็นแต่ละหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ จำนวน 7,798 ไร่
หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง จำนวน 1,920 ไร่
หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก จำนวน 3,346 ไร่ หมู่ที่ 4 บ้านห่องคำ จำนวน 3,421 ไร่
หมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก จำนวน 2,560 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย จำนวน 2,613 ไร่
หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย จำนวน 2,141 ไร่
หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ จำนวน 5,102 ไร่
หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง จำนวน 2,050 ไร่
หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ จำนวน 1,749 ไร่
หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา จำนวน 1,675 ไร่
อาณาเขต
ตำบลนาเจริญมีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าโมง อำเภอเดชอุดม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสระสมิง อำเภอวารินชำราบ
แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ
อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ มีสภาพพื้นที่ ดังนี้
(๑) เป็นพื้นที่ราบสูง พื้นที่ส่วนมากใช้สำหรับในเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยทำนาเป็นหลัก อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และพืชผลอื่นๆ ตามลำดับลองลงมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์
(๒) มีลำคลอง ลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ ฝาย บ่อบาดาล ตามพื้นที่จำนวน ๖ แห่ง สำหรับใช้ในการอุปโภค - บริโภค การเกษตร เลี้ยงสัตว์แต่ไม่มีแม่น้ำ บึง อ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ ๖ แห่งดังกล่าวเดิมเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญได้ดำเนินการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซมเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนกรณีภัยแล้งและน้ำท่วมให้กับประชาชน อีกทั้งได้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ในการให้การสนับสนุน เช่น อำเภอ จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมทรัพยากรน้ำ และรัฐบาล โดยทำการขุดลอกขุดขยายแหล่งน้ำและก่อสร้างฝายกั้นน้ำ วางท่อระบายน้ำ ก่อสร้างประตูปิดปิดน้ำ ปรับปรุงบ่อบาดาลเดิม เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจำนวนแหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลนาเจริญมีดังนี้
ลำคลอง แห่ง สระน้ำ - แห่ง
ลำห้วย 16 แห่ง ฝาย 8 แห่ง
หนองน้ำ 13 แห่ง บ่อบาดาล 30 แห่ง
แม่น้ำ - แห่ง บ่อน้ำตื้น - แห่ง
บึง - แห่ง อ่างเก็บน้ำ - แห่ง
อื่นๆ (ระบุ) - แห่ง เหมือง - แห่ง
- ลำน้ำ,ลำห้วย 17 สาย ดังนี้
- ห้วยข้าวสาร ห้วยอะลาง
- ห้วยแคนใหญ่ ห้วยร่องไฮ
- ห้วยแคนเงาะ ห้วยแคน
- ห้วยพาก ห้วยร่องแดง
- ห้วยตำแย ห้วยนางตุ้ม
- ห้วยธาตุ ห้วยร่องเตย
- ห้วยร่องแสง ห้วยร่องเดือนห้า
- ห้วยไผ่ ห้วยร่องไผ่
- ห้วยขอนแป้น
- บึง , หนอง 13 แห่ง ดังนี้
- หนองบัวแดง นองชาติ
- หนองบอน หนองขามป้อม
- หนองควายชุม หนองสะโน
- หนองสี่เหลี่ยม หนองกุง
- หนองหว้า หนองห่องคำ
- หนองสะแบง หนองแคน
- หนองหรั่ง
- ฝายน้ำล้น จำนวน 8 แห่ง ดังนี้
- ฝายห้วยแคนเงาะ ฝายห้วยข้าวสาร
- ฝายห้วยแคนใหญ่ฝาย ห้วยแคนใหญ่
- ฝายห้วยตำแยตอนล่าง ฝายกลาง
- ฝายห้วยตำแยตอนบน ฝายห้วยแคนเงาะตอนกลาง
ทรัพยากรธรรมชาติ
- น้ำแหล่งน้ำทางธรรมชาติ 17 แห่ง
- ป่าไม้จะเป็นป่าช้า ป่าสาธารณะประโยชน์
(๓) มีถนนในการสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และจังหวัดอุบลราชธานีที่มีเขตติดต่อกันกับตำบลนาเจริญ ทั้งนี้ สำหรับถนนขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญที่ได้ดำเนินการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนให้กับประชาชนในการสัญจรไปมา ในชีวิตประจำวัน และขนส่งผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ อีกทั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญยังได้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ในการให้ความสนับสนุน เช่น อำเภอ จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งก็ยังมีถนนอีกหลายเส้นทางที่ยังต้องดำเนินการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซมให้มีคุณภาพดี โดยถนนในตำบลนาเจริญมีดังนี้
หมู่ที่ ๑ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต 2 สาย/ถนนคสล. 5 สาย/ถนนลูกรัง 5 สาย
หมู่ที่ ๒ถนนคสล.3 สาย/ถนนลูกรัง ๔ สาย
หมู่ที่ ๓ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ๑ สาย/ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 4 สาย/
ถนนดิน 1 สาย
หมู่ที่ ๔ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ๑ สาย/ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 5 สาย
หมู่ที่ ๕ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ๑ สาย/ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 2 สาย
หมู่ที่ ๖ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ๑ สาย/ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 4 สาย/
ถนนดิน 1 สาย
หมู่ที่ 7ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต 2 สาย/ถนน คสล. 2 สาย/ถนนลูกรัง 4 สาย
หมู่ที่ 8ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต 6 สาย/ถนน คสล. ๑ สาย
หมู่ที่ 9ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต 3 สาย/ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 3 สาย/
ถนนดิน 2 สาย
หมู่ที่ 10ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต 1 สาย/ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 5 สาย/
ถนนดิน 1 สาย
หมู่ที่ 11 ถนน คสล. ๑ สาย/ถนนลูกรัง 5 สาย/ ถนนดิน 1 สาย
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ เป็นลักษณะร้อนแห้งแล้ง โดยแบ่งฤดูออก 3 ฤดูดังนี้
- ฤดูฝน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม
- ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
- ฤดูร้อน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
1.4 ลักษณะของดินคุณสมบัติของดินทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. ดินร่วน - ดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ปริมาณร้อยละ 25.5 ของ พื้นที่ทั้งหมด 2. ดินร่วนทราย - ดินร่วนปนทราย เป็นดินตามบริเวณที่ราบสูงทั่วไป มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีปริมาณร้อยละ 38.5 ของพื้นที่ทั้งหมด 3. ดินร่วนทราย - ดินร่วนเหนียว จะมีอยู่บริเวณที่ราบลุ่มทั่วไป มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีปริมาณร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ทั้งหมด 4. ดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่เป็นดินตามพื้นภูเขาและที่ลาดชัน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ระดับ ปานกลางถึงต่ำ มีปริมาณร้อยละ 28.5 ของพื้นที่ทั้งหมด
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำเป็นแหล่งรวมลำน้ำหลายสายไหลผ่าน เช่น ลำห้วยข้าวสาร, ลำห้วยแคนใหญ่, ลำห้วยตำแย, ลำห้วยแคนเงาะ, ลำห้วยหาก และลำห้วยธาตุ เป็นต้น รวมถึงฝายและธนาคารน้ำใต้ดินที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
1.6ลักษณะของไม้และป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าช้าที่มีป่าไม้ซึ่งชุมชนได้ช่วยกันอนุรักษ์ป่าไว้
.
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง |
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลในด้านการบริหารงานราชการ“แบบเปิด”โดยการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานท้องถิ่นมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการเสนอแนะร่วมแสดงความคิดเห็น และมีส่วนในการร่วมพัฒนาดูแลชุมชน เช่น กิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนาตำบลนาเจริญ ในภาพรวมโดยมีประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน และตรวจการดำเนินกิจกรรมตามแผน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลให้เกิดความเข้มแข็ง
2.1 เขตการปกครองตำบลนาเจริญมีจำนวนหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ชื่อผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน |
หมายเหตุ
|
1 |
บ้านนาเจริญ |
นายไพฑูรย์ คงศิลา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
2 |
บ้านหนองบัวแดง |
นายสมจิตร สีเทา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
3 |
บ้านโนนบาก |
นายทองปน กุลธิ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
4 |
บ้านห่องคำ |
นายถาวร นามเจริญ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
5 |
บ้านโนนจิก |
นายสมพงษ์ เขียวนิล |
ผู้ใหญ่บ้าน |
6 |
บ้านห่องเตย |
นายสมปอง เอี่ยมสะอาด |
ผู้ใหญ่บ้าน |
7 |
บ้านโชคชัย |
นายประมวล คำพันธ์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
8 |
บ้านนาเจริญ |
นายพรณรงค์ ลิ้มวงษ์ทอง |
กำนันตำบล |
9 |
บ้านสี่แยกโนนทอง |
นายสายทอง ธานี |
ผู้ใหญ่บ้าน |
10 |
บ้านนาเจริญ |
นายเนย แก่นมั่น |
ผู้ใหญ่บ้าน |
11 |
บ้านศรีนวลพัฒนา |
นายเส็ง ศรีจันทอง |
ผู้ใหญ่บ้าน |
2.2 การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ดังนั้นจึงมีรูปแบบการปกครองและบริหารราชการเป็น 2 ส่วน คือ
- การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ ประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้านโดยในแต่ละหมู่บ้านจะมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ดูแล
- การบริหารราชการท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีโครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารงาน ดังนี้
- ผู้บริหาร ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงจำนวน 1 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน และเลขานุการ จำนวน 1 คน เป็นผู้ช่วยในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
๓. ประชากร
|
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตำบลนาเจริญ มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 7,543 คน จำนวนครัวเรือน 2,660 ครัวเรือน โดยแยกเป็นหมู่บ้านต่างๆ ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวน ครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
รวม |
หมายเหตุ |
|
ชาย |
หญิง |
|||||
1 |
บ้านนาเจริญ |
531 |
706 |
771 |
1,499 |
|
2 |
บ้านหนองบัวแดง |
284 |
302 |
299 |
592 |
|
3 |
บ้านโนนบาก |
174 |
263 |
272 |
531 |
|
4 |
บ้านห่องคำ |
316 |
429 |
467 |
896 |
|
5 |
บ้านโนนจิก |
99 |
152 |
169 |
323 |
|
6 |
บ้านห่องเตย |
243 |
265 |
264 |
524 |
|
7 |
บ้านโชคชัย |
229 |
340 |
356 |
695 |
|
8 |
บ้านนาเจริญ |
377 |
555 |
536 |
1,100 |
|
9 |
บ้านสี่แยกโนนทอง |
174 |
242 |
248 |
476 |
|
10 |
บ้านนาเจริญ |
178 |
274 |
272 |
527 |
|
11 |
ศรีนวลพัฒนา |
186 |
182 |
179 |
353 |
|
|
รวม |
2,791 |
3,710 |
3,833 |
7,543 |
|
**ข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ 1 ตุลาคม 2563
- สภาพทางสังคม
ตำบลนาเจริญเป็นตำบลที่มีพื้นที่ เป็นชนบท กึ่งเมือง เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ ประชาชนในวัยทำงาน ไปประกอบอาชีพต่างพื้นที่ บริษัท และโรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่และเขตพื้นที่ใกล้เคียง เป็นจำนวนมาก 5.46 มีการเดินทางไปทำงานโดยจักรยานยนต์เป็นส่วนใหญ่มีสถิติของอุบัติเหตุทางการจราจรบ่อยครั้ง ส่วนปัญหาทางสังคมที่พบเหตุคือครอบครัวขาดความอบอุ่น บิดา – มารดา ไปทำงานแต่เช้า กลับค่ำ เด็กอยู่กับผู้สูงอายุ เกิดช่องว่างระหว่างวัย มีภาวะเสี่ยงต่อการติดสิ่งเสพติดมากที่สุดคือเยาวชน (ร้อยละ 13.08) เนื่องจากเป็นวัยที่ขาดการดูแลอย่างใกล้ชิด สาเหตุหลักมาจากตัวผู้ปกครองที่ขาดเวลาในการดูแลเอาใจใส่ ขาดความเข้าใจไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นและไม่ชี้แจงเหตุผลทำให้เยาวชนไม่กล้าปรึกษาและพูดคุย และอีกสาเหตุที่สำคัญ คือ ชอบทดลองอยากรู้อยากเห็น และเพื่อเป็นการลดปัญหาของเยาวชน องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ และผู้นำชุมชนได้ระดมความคิดเพื่อหาศูนย์รวมสำหรับใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของเยาวชน โดยมุ่งเน้นการทำกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเยาวชนให้ความสนใจ เช่นการฝึกอาชีพ เช่น การฝึกอาชีพการจัดพานบายศรี การฝึกอาชีพจับผ้าบนโต๊ะ เป็นต้น
จากสภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านอาชญากรรม ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ ก็ได้ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านความปลอดภัยของชุมชน ได้มีการสนับสนุนการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อทำหน้าที่ตรวจตา ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชุมชน และยังรวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางจราจรและภัยจากธรรมชาติ โดยช่วยเหลือทั้งภายในตำบลและใกล้เคียง ภายใต้การทำงานของกลุ่ม “กู้ชีพ-กู้ภัย ตำบลนาเจริญ และกลุ่ม อปพร.ตำบลนาเจริญ” โดยเป็นการรวมกันระหว่างอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และพนักงานกู้ชีพ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญได้ดำเนินการรณรงค์โครงการปลอดเหล้าเพื่อลดอุบัติเหตุทางจราจร
4.1 การศึกษา
ลำดับ |
การศึกษา |
จำนวน |
ร้อยละ |
หมายเหตุ |
1 |
อนุบาล |
383 |
5.21 |
|
2 |
ประถมศึกษา |
3,465 |
47.20 |
|
3 |
มัธยมศึกษาตอนต้น |
1,241 |
16.9 |
|
4 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย |
924 |
12.58 |
|
5 |
ปวฃ. |
82 |
1.11 |
|
6 |
ปวส. |
110 |
1.49 |
|
7 |
อนุปริญญา |
31 |
0.42 |
|
8 |
ปริญญาตรี |
324 |
4.41 |
|
9 |
สูงกว่าปริญญาตรี |
63 |
0.85 |
|
10 |
ไม่เข้าข่าย |
425 |
5.79 |
|
11 |
ไม่ได้เรียน |
216 |
2.94 |
|
12 |
ไม่ระบุ |
1 |
0.01 |
|
ด้วยบริบทของตำบลนาเจริญ เป็นพื้นที่ใกล้กับชุมชนเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุอย่างรวดเร็ว ชุมชนจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ ในพื้นที่มีการเรียนการสอน กศน. ตำบลนาเจริญ ร่วมกับการการศึกษานอกโรงเรียน ให้กับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาภายใต้ชื่อ “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลนาเจริญ”และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการดูแล จำนวน 5 ศูนย์ เพื่อเป็นการลดปัญหาสำหรับผู้ปกครองที่ต้องออกไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ในการแข่งขันต่อสู้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันทำให้ชุมชนขาดการทำกิจกรรมด้านศาสนาจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย ทำให้เกิดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ขาดการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือต่อกัน องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการทำกิจกรรมด้านศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี โดยการจัดกิจกรรม ตักบาตรฟังธรรมในทุกวันสำคัญทางศาสนาร่วมกับชุมชนและมีการสืบสานวัฒนธรรม ฮิต 12 ครอง 14 หรืองานบุญทั้ง 12 เดือน ตามวัฒนธรรมอีสานโบราณ ด้านการกีฬา ตำบลนาเจริญ เป็นตำบลที่อยู่ในเขตชนบทแต่มีนักกีฬาที่มีความสามารถ ระดับอำเภอ หลายประเภท ได้แก่ กีฬาวอลเล่ย์บอลหญิง ฟุตบอลเยาวชน มีการส่งเสริมการกีฬาในตำบลอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมแข่งขัน ฟุตบอลต้านยาเสพติดเป็นประจำทุกปี และยังสนับสนุนให้มีการแข่งขันกีฬาประเพณีในชุมชน วัตถุประสงค์หลักเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างความสามัคคีปรองดองในชุมชนและการต้านยาเสพติดโดยทางอ้อมด้วย
4.2 ด้านสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ โดย นายอนิรุทธิ์ ภาวะนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ มีนโยบายให้หมอพบประชาชน จึงเป็นโครงการหมอพอประชาชนทุกๆต้นเดือน โดยบูรณาการงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเจริญ และโรงพยาบาลเดชอุดม เพื่อตรวจสุขภาพและดูแลคนป่วย และจุดเด่นในตำบลนาเจริญดูได้จากบุคคลต้นแบบที่สามารถลดและเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการดูข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลนาเจริญ และจากการพูดคุยของบุคคลในครอบครัว มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นมีความโดดเด่นเรื่องการบูรณาการสุขภาวะเหล้า บุหรี่ อุบัติเหตุผ่านเครือข่ายตำบลสุขภาวะดีวิถีคนนาเจริญในพื้นที่ เน้นรูปแบบการทำงานโดยใช้พลังแบบเบญจภาคี(ภาครัฐ/ภาควิชาการ/ภาคประชาชน/ภาคเอกชน/ภาคประชาสังคมและสื่อ)พร้อมเชื่อมโยงการทำงานกับท้องที่/ท้องถิ่นเพื่อสร้างพลังที่ยั่งยืนในการทำงานในงานศพปลอดเหล้า และเป็นหนึ่งในอำเภอเดชอุดม ที่มี ๑๖ ตำบล มีการริเริ่มงานศพปลอดเหล้าเป็นตำบลแรก โดยรูปธรรมเด่นของตำบลนาเจริญด้านการขับเคลื่อนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติจราจร
โรคติดต่ออันตราย (ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘)
เมื่อเดือนธันวาคม2562 ได้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีนเชื่อว่าไวรัสนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีต้นกำเนิดจากสัตว์ยังไม่ทราบต้นกำเนิดแท้จริง แต่ในเดือนธันวาคม 2562 การแพร่กระจายการติดเชื้อเกิดขึ้นแทบทั้งหมดจากคนสู่คน ยืนยันแล้ว 41 รายแรก ซึ่งตีพิมพ์ในเดอะแลนซิตเมื่อเดือนมกราคม 2563 เปิดเผยว่าวันเริ่มต้นอาการวันแรกสุดได้แก่วันที่ 1 ธันวาคม2562สิ่งพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการจาก WHO รายงานว่าอาการเริ่มต้นเร็วที่สุดคือวันที่ 8 ธันวาคม2562WHOและทางการจีนยืนยันการติดต่อจากคนสู่คนในวันที่ 20 มกราคม 2563เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส โดยทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และแพร่ระบาดมายังประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอีกหลายประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ เขตการปกครองพิเศษ (ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 2 และยกเป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้ประกาศชื่อว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้คนได้อย่างรวดเร็ว มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และถึงขั้นเสียชีวิตมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลกจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้นโรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกและกลายพันธ์ไปเรื่อยๆ การแพร่กระจายของเชื้อรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิม
ในประเทศไทยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะสม ๑๗๓,๗๔๒,๔๒๖ ราย เสียชีวิต ๓,๗๓๖,๙๗๔ ราย ข้อมูล ณ วันที่ ๖ มิถุนายน 2564 ในประเทศไทยผู้ป่วยยืนยันสะสม๑๗๗,๔๖๗เสียชีวิต1,2๓๖ราย หายป่วยสะสม ๙๙,๐๙๑ รายข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 256๔ (จากเว็บลิงค์ของกรมควบคุมโรคhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no520-060664.pdf)แต่ละประเทศก็ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา เยียวยา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งวิธีการคัดกรอง ล๊อคดาวน์ประเทศ เมือง งดเที่ยวบิน จำกัดเที่ยวบิน การกักตัว การปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสถานที่ที่เกิดโรค การใช้ชีวิตแบบใหม่ สวมใส่หน้ากากเมื่อออกดจากเคหะสถาน ที่พัก เว้นระยะห่างทางสังคม หมั่นทำความสาอดมือ หลีกเลี่ยงการไปยังพื้นที่เสี่ยง ออกกฎหมายควบคุมผู้ที่ฝ่าฝืน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบกับมีสถาบัน บริษัท ประเทศต่างๆ ได้ผลิตวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชนในการป้องกันโรคนี้และได้กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ ขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอ การแพร่ระบาดยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดการระบาดเมื่อไหร่
- สำหรับในพื้นที่ตำบลนาเจริญ พบผู้ที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน ๑ ราย เป็นผู้เดินทางจากจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง และได้รับการรักษาหายแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างเต็มที่
4.3อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น ไม่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนและของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญได้จ้างเหมาเวรยาม ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่เนื่องจากได้เกิดสถานการณระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การระบาดของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ประกอบกับมีการกักตุนสินค้าจำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งต้องป้องกันมิให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน กรณีจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน และการดำรงชีวิตโดยปกติสุขพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรประกาศณ วันที่25 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖3ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓โดยได้ประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นคราวไปจันถึงปัจจุบันยังขยายระยะเวลาอยู่ได้ เพื่อควบคุมและระงับยับยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีทุกภาคส่วนรวมทั้งได้ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคให้ได้มากที่สุด แต่ได้เกิดการระบาดแบบกลุ่มก้อนขึ้นในพื้นที่ที่มีความแออัดหลายพื้นที่ทั่วประเทศดังที่ทราบกันโดยทั่วไป ประกอบกับเชื้อโรคได้กลายพันธุ์ทำให้เกิดการติดโรคได้ง่าย และไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เมื่อแสดงอาการจะมีความรุนแรงมาก ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนมาก ผู้ป่วยสะสมเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกระทั่งมีความจำเป็นต้องจัดตั้งสถานที่กักตัวผู้ติดโรคเพื่อรองรับสถานการณ์ทั้งยังปรากฏว่าผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากขึ้นและเร็วขึ้นจากความรุนแรงของโรค กรณีจึงจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งมาตรการที่เข้มข้นในการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค รวมทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตของประชาชนและสาธารณสุขภายในตำบล
4.4ยาเสพติด
ตำบลนาเจริญเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในเรื่องการดื่มการบริโภคแอลกอฮอล์จากการที่ชาวบ้านเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำให้มีเวลาในการร่วมแรงการทำงาน มักจะมีการเลี้ยงเหล้าเป็นการตอบ แทน และด้านประเพณีวัฒนธรรม โดยทั่วไปเมื่อมีการจัดงานพบปะสังสรรค์จะมีการฉลองด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น งานบวชหรืองานศพ จะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนตั้งแต่วันแรกในการจัดงานเตรียมอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ การทำความสะอาด โดยเจ้าภาพต้องนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเลี้ยงคนที่มาช่วยงาน วันที่สองเป็นการฉลองการบวชจริงมีการจัดโต๊ะเลี้ยงแขกมีขวดเหล้าหรือไม่ก็เบียร์ทุกโต๊ะมาตอบแทนแขกมาช่วยงาน พอบวชเสร็จก็ฉลองให้บิดามารดาที่มีลูกชายบวชให้ แม้กระทั้งวันสุดท้ายคือวันเก็บของและทำความสะอาดก็ต้องเลี้ยงเหล้า ส่วนงานศพก็จะมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกคืนๆเพราะมีความเชื่อว่าการดื่มเป็นเพื่อนศพ ดื่มไม่พอมีการเล่นการพนัน (แถมมีเรื่องทะเลาะวิวาทบางงาน ) เป็นเพื่อนศพอีก และเป็นการดื่มเพื่อแสดงความเสียใจให้แก่ญาติผู้เสียชีวิต และยังเชื่ออีกว่าถ้าเจ้าภาพงานไม่เลี้ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีชาวบ้านมาช่วยงานน้อยและมีการนินทาเจ้าภาพว่าขี้เหนียว ใจแคบไม่ใจกว้าง ซึ่งการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมองเห็นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติและกลายเป็นวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รับการเฝ้าระวังและหาแนวทางในการป้องกัน เพราะปัจจุบันเกิดปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง
4.5 การสังคมสงเคราะห์
ในรูปแบบกองทุนสวัสดิ์การชุมชนตำบลนาเจริญ มีรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนเป็นกระบวนการของชุมชนที่มุ่งเน้นการจัดการตนเอง การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้การดูแลเอาใจใส่กันและกัน ทำให้การจัดสวัสดิการมิใช่เพียงแค่การแจกเงินเท่านั้น แต่สวัสดิการเป็นทั้งกำลังใจ กำลังทรัพย์ เป็นกระบวนการของการให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี มีส่วนร่วมเป็นธรรมและเท่าเทียม ดังนั้น กองทุนสวัสดิ์การชุมชนตำบลนาเจริญ ได้พัฒนาสวัสดิการเพื่อสนับสนุนการลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการลดอุบัติเหตุจราจร จึงมีความมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการที่ชุมชนได้จัดการตนเองมาแล้ว โดยส่งเสริมหรือกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในส่วนของการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุจราจร โดยมีแนวทางดังนี้ มีการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการงานศพปลอดเหล้า กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาเจริญ ร่วมเป็นเจ้าภาพ 1,200 บาท และมอบน้ำดื่มในวงเงิน 1,500 บาท
5. ระบบบริการพื้นฐาน |
5.1 การคมนาคมขนส่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญมีการคมนาคมในการขนส่งสินค้า เช่น ยางพารา ข้าว และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่าง ๆ โดยมีเส้นทางคมนาคมทางรถยนต์เชื่อมโยงกับเส้นทางหลวงหมายเลข 24
5.2 การไฟฟ้าองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญให้ความสำคัญในเรื่องไฟฟ้า เพราะเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันสู่การเกษตรกร ความเป็นอยู่ของชุมชน จึงได้มีการขยายไฟฟ้าและการซ่อมแซมตามหมู่บ้านตามซอยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเส้นทางสาธารณะ
5.3 การประปาสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญได้เร่งในการขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อการก่อสร้างประปาหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนไม่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค
5.4 โทรศัพท์เบอร์โทรองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ0-4521-0735
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ในตำบลนาเจริญจะมีไปรษณีย์ประจำตำบลสะดวกในการฝากรับส่งไปรษณีย์ต่างๆ ตามรหัสไปรษณีย์ของตำบลนาเจริญคือ 34160
6. ระบบเศรษฐกิจ |
6.1การเกษตร เช่น การทำนา ทำสวนยางพารา ทำไร่โพด ปลูกพริก ปลูกผักชีฝรั่ง ปลูกกระเทียม ปลูกหอม ร้อยละ ๕๔ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่
6.2การประมงร้อยละ ๐.๕๐ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่
6.3 การปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงโค-กระบือ เลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงปลานิล เลี้ยงกบ ร้อยละ ๑๔ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่
6.4 การบริการ เช่น นวดแผนไทย ร้านซ้อมรถ หอพัก ร้อยละ ๕ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่
6.4 การท่องเที่ยว สวนสมุนไพรเทศน์ วัดป่าห่องเตย อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้ชุมชนและชุมชนต่างพื้นที่เข้ามาศึกษา
6.6 อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่นการตัดเย็บเสื้อผ้าส่งต่อต่างจังหวัด หมู่ที่ 4 บ้านห่องคำ
6.7 การพาณิชยและกลุ่มอาชีพ อาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ซ่อมรถ ติดตั้งหลังคา ทำผ้าม่าน ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม เครื่องจักสาร ผักตบชวาไม้ไผ่ ทอเสื่อกกผลิตน้ำดื่ม แปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ร้อยละ ๕ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่
6.8 แรงแรง อาชีพรับจ้าง เช่น ก่อสร้าง แม่บ้าน กรีดยางพารา กุ๊ก ทำงานต่างประเทศ ร้อยละ ๑๔ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่
๗. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม |
7.1 การนับถือศาสนา
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ศาสนาขนมธรรมเนียมประเพณีเทศกาลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นชุมชนวิถีพุทธ มีวัด 9 วัด รวมสำนักสงฆ์ มีพระครู 5 รูป มีเครือข่ายพระสงฆ์ 44 รูป ในตำบลนาเจริญ โดยมีท่านพระครูเจ้าคณะตำบลเป็นพระนักพัฒนา วัดเเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรมอิทธิพลทางความคิด (ค่านิยม) ขนบธรรมเนียมที่ยึดถือสืบเนื่องต่อกันมาดังนี้
การกินดอง มายถึง งานพิธีมงคลสมรสซึ่งมีความแตกต่างกับที่อื่นอยู่บ้างในส่วนปลีกย่อย โดยมักจะเรียกพิธีแต่งงานว่า “การกินดอง” ซึ่งหมายความในลักษณะผูกพันเกี่ยวดองฝ่ายหญิงฝ่ายชายจะดอง ซึ่งกันและกันเรียกว่า “พ่อดอง แม่ดอง”
**เดือนสามบุญข้าวจี่เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่าเดือน 3 ชาวบ้านจะต้องนาข้าวเหนียวมาปั้นแล้วนามาตักบาตรพระ
**งานประจำปีตำบลนาเจริญ คือ การแห่นักษัตรในช่วงประเพณีสงกรานต์เดือนห้าบุญสงกรานต์เริ่มวันที่ 12 – 15 เมษายนของทุกปีมีการทาบุญต่างๆการขอพรจากผู้สูงอายุ
**การทําบุญบั้งไฟเดือนหกบุญบั้งไฟเป็นการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายเรื่องฟ้าฝนนอกจากนี้เป็นการแข่งขันเพื่อความสนุกสนาน บ้านศรีนวลพัฒนา หมู่ที่ 11
**การทําบุญข้าวประดับดิน การทําบุญข้าวประดับดินนิยมทํากันในวันแรม 13 -14 ค่ำ เดือนเก้า โดยการห่ออาหารหรือของขบเคี้ยวเป็นห่อนําไปถวายทานหรือนําไปห้อยตามต้นไม้บ้าง ด้วยเหตุนี้จึง เรียกข้าวประดับดิน
**การทําบุญข้าวสาก ชาวบ้านนิยมทํากันในวันขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งานบุญเดือนสิบ” ข้าวสากนั้นมาจากคําว่า “สลาก” เพราะบางเวลาถวายพระสงฆ์ไม่เจาะจงว่าถวายรูปใด จึงจัดทําเป็นสลากชื่อเจ้าภาพจับได้ของใครก็นําไปถวายตามนั้น
**เดือนสิบบุญข้าวสารทชาวบ้านจะทาห่อข้าวเล็กๆมีข้าวกระยาสารทนาไปถวายพระ
**เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษาชาวบ้านไปเวียนเทียนที่วัดสวดมนต์ทาพิธีออกพรรษาตอนเช้าตักบาตร
**ประเพณีแห่เทียนพรรษา เดือนแปดบุญเข้าพรรษาชาวบ้านจะทาบุญเพื่อวัดแห่ผ้าจาพรรษาและผ้าอาบน้าฝนพระสงฆ์จาต้องพรรษาครบ 3 เดือน เป็นประเพณีทางพุทธศาสนาของชาวจังหวัดอุบลราชธานี และชุมชนนาเจริญ โดยกําหนดให้จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี มีการประกวดต้นเทียนสําหรับต้นเทียนที่ส่งเข้าประกวดมี 2 ประเภท คือประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลัก และมีขบวนแห่อันวิจิตรตระการทั้งนี้ตำบลนาเจริญได้สืบทอดประเพณีของจังหวัดในการเข้าร่วมด้วย
**เดือนสิบสองบุญกฐินชาวบ้านจะนำกองกฐินไปทอดถวายที่วัดประจำหมู่บ้าน
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสาร สินค้าการเกษตร และเครื่องจักรสานต่างๆเช่น เสื่อ กระเป๋าฯลฯ
9. ทรัพยากรธรรมชาติ |
9.1 น้ำ
- ลำน้ำ,ลำห้วย 17 สาย ดังนี้
- บึง , หนอง 13 แห่ง ดังนี้
- ฝายน้ำล้น จำนวน 8 แห่ง ดังนี้
- บ่อน้ำบาดาล 30 บ่อ
น้ำแหล่งน้ำทางธรรมชาติ 17 แห่ง
ป่าไม้จะเป็นป่าช้า ป่าสาธารณะประโยชน์
9.3 ภูเขา -
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ -
ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
|
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
|
1) แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)
วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ”หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืน ของสถาบันหลักของชาติและประชาชน จากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุข เป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน จนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุข ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนมีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน เศรษฐกิจ ในประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษา และการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนา อย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศ ในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ
- ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
มีเป้าหมายทั้งในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศ และช่วยลดและป้องกันภัยคุกคาม จากภายนอก รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอาเซียนและประชาคมโลกที่มีต่อประเทศไทย กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ
(1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง ขจัดคอร์รัปชั่น สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
(3) การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล
(4) การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ และรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่
(5) การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกำลังป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ
(6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ รักษา ความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(7) การปรับกระบวนการทำงานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสู่แนวระนาบมากขึ้น
- ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องยกระดับผลิตภาพการผลิตและการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในสาขาอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหาร การเพิ่มขีดความสามารถ ทางการค้าและการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งการพัฒนาฐานเศรษฐกิจแห่งอนาคต ทั้งนี้ภายใต้กรอบการปฏิรูปและพัฒนาปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ทุกด้าน อันได้แก่โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทุนมนุษย์ และการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ
(1) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ได้แก่การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่น การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นชาติการค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาค และเป็นการยกระดับไปสู่ส่วนบนของห่วงโซ่มูลค่ามากขึ้น
(2) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ บนฐานของการพัฒนานวัตกรรมและมีความเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการใช้ดิจิทัลและการค้าที่เข้มข้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายกิจกรรมการผลิตและบริการ โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลกและในระดับภูมิภาคในอุตสาหกรรมหลายสาขา และในภาคบริการ ที่หลากหลายตามรูปแบบการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารคุณภาพ สะอาดและปลอดภัยของโลก
- ภาคเกษตร โดยเสริมสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้ปรับไปสู่การทำการเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรวมกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาอาชีพที่เข้มแข็ง และการพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพและอาหารคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย
- ภาคอุตสาหกรรม โดยพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมปัจจุบันที่มีศักยภาพสูง และพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตที่มีศักยภาพ โดยการใช้ดิจิทัลและการค้ามาเพิ่มมูลค่าและยกระดับห่วงโซ่มูลค่าในระดับสูงขึ้น
- ภาคบริการ โดยขยายฐานการบริการให้มีความหลากหลาย มีความเป็นเลิศและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการยกระดับบริการที่เป็นฐานรายได้เดิม เช่น การท่องเที่ยว และพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพ ธุรกิจบริการด้านการเงินและธุรกิจบริการที่มีศักยภาพอื่นๆ เป็นต้น
(3) การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่สากล และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร
(4) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมืองพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และพัฒนาระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญ จัดระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วม มีการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพ
(5) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการวิจัยและพัฒนา
(6) การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับนานาประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติในการสร้างความมั่นคงด้านต่างๆ เพิ่มบทบาทของไทยในองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศมีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา มีความเป็นสากล มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรม จริยธรรม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีครอบครัวที่มั่นคง กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ
(1) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ
(2) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง
(3) การปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่พึงประสงค์
(4) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี
(5) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยเสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวในการ บ่มเพาะจิตใจให้เข้มแข็ง
- ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
เพื่อเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำไปสู่สังคม ที่เสมอภาคและเป็นธรรม กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ
(1) การสร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
(2) การพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ
(3) การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตในสังคมสูงวัย
(4) การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และความเข้มแข็งของชุมชน
(5) การพัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา
- ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ และมีความมั่นคงด้านน้ำ รวมทั้งมีความสามารถในการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ และพัฒนามุ่งสู่การเป็นสังคมสีเขียว กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ
(1) การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
(2) การวางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ
(3) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(4) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(5) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(6) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มีสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระจายบทบาทภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม มีธรรมาภิบาลกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ
(1) การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจ ของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม
(2) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ
(3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
(4) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(5) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นสากล
(6) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
(7) การปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ
2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
- การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
เป้าหมายการพัฒนา
- คนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคมเพิ่มขึ้น
- คนในสังคมไทยทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้และความสามารถเพิ่มขึ้น
- คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากลและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
- คนไทยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น
- สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษาสถาบันทางศาสนาชุมชน สื่อมวลชนและภาคเอกชน
แนวทางการพัฒนา
- ปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรมจริยธรรมมีวินัยจิตสาธารณะและพฤติกรรมที่ พึงประสงค์
- พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะ ความรู้และความสามารถ ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
- ยกระดับคุณภาพการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ และให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพภาครัฐ
- พัฒนาระบบการดูแล และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย
- ผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง
- การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
เป้าหมายการพัฒนา
- ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกันและแก้ไขปัญหาความยากจน
- เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐ
- เพิ่มศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองและได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น
แนวทางการพัฒนา
- การเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากร ร้อยละ40ที่มีรายได้ต่ำสุด ให้สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของรัฐและมีอาชีพ
- การกระจายการให้บริการภาครัฐทั้งด้านการศึกษาสาธารณสุขและสวัสดิการ ที่มีคุณภาพ ให้ครอบคลุมและทั่วถึง
- การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการสร้างความเข้มแข็ง การเงินฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มีสิทธิในการจัดการทุนที่ดินและทรัพยากรภายในชุมชน
- การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนา
- เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
- การสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจรายสาขา
แนวทางการพัฒนา
- การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวม
- การเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ
- การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนา
- การรักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เป็นร้อยละ40 ของพื้นที่ประเทศแบ่งเป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ร้อยละ25และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจร้อยละ15พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มจาก1.53ล้านไร่เป็น1.58ล้านไร่มีการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐและลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
- สร้างความมั่นคงและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ บริหารจัดการน้ำในระดับลุ่มน้ำให้มีความสมดุลระหว่างความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมกับปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มพื้นที่ชลประทานปีละ350,000ไร่ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำทั้งภาคการผลิต และการบริโภคป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ75ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการกำจัดไม่น้อยกว่าร้อยละ30กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายทั้งหมดเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้องฟื้นฟูแหล่งน้ำผิวดินให้มีคุณภาพ ในเกณฑ์ดีและแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควัน
- เพิ่มประสิทธิภาพการลดก๊าซเรือนกระจกและขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและคมนาคมขนส่งลดลง ภายในปี2563ไม่น้อยกว่า ร้อยละ7ของการปล่อยในกรณีปกติมีกลไกจัดการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านต่างๆ หรือในพื้นที่หรือสาขาที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบสูง
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ที่เกิดจากสาธารณภัยลดลง
แนวทางการพัฒนา
- การรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสร้างสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความมั่นคงสมดุล และยั่งยืน
- แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- บริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการและกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
- การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนา
- ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบันหลักของประเทศ
- สังคมมีความสมานฉันท์ผู้เห็นต่างทางความคิดของคนในชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาความมั่นคง
- ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการศึกษาและการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
- ประเทศไทยมีความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมิตรประเทศและนานาประเทศ ในการป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์ ของชาติ
- ประเทศไทยมีความพร้อมต่อการรับมือภัยคุกคามทางทหารมีอันดับความเสี่ยงจากการ ก่อการร้าย ต่ำกว่าอันดับที่20ของโลกและมีอันดับความเสี่ยงจากการโจมตีด้านไซเบอร์ในต่ำกว่าอันดับที่10 ของโลก
- จัดทำแผนงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
- การรักษาความมั่นคงภายในเพื่อให้เกิดความสงบในสังคมและธำรงไว้ ซึ่งสถาบันหลัก ของชาติ
- การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ ภัยคุกคามทั้งการทหารและภัยคุกคามอื่นๆ
- การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านความมั่นคงเพื่อบูรณาการความร่วมมือกับมิตรประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคมและการป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติ
- การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเพื่อคงไว้ซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคม และความมั่นคงของชาติ เหนืออาณาเขตทางทะเล
- การบริหารจัดการความมั่นคงเพื่อการพัฒนาเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างแผนงาน ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงการพัฒนาภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
- การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาล ในสังคมไทย
เป้าหมายการพัฒนา
- ลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของภาครัฐและประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจของประเทศให้อยู่ในอันดับสองของอาเซียน เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯฉบับที่12
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เพิ่มคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นให้อยู่สูงกว่าร้อยละ50เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯฉบับที่12
- ลดจำนวนคดีที่มีการพิจารณาตัดสินลงโทษผิดพลาด
แนวทางการพัฒนา
- ปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานบทบาทภารกิจและคุณภาพบุคลากรภาครัฐให้มีความโปร่งใสทันสมัยคล่องตัวมีขนาดที่เหมาะสมเกิดความคุ้มค่า
- ปรับปรุงกระบวนการงบประมาณและสร้างกลไกในการติดตามตรวจสอบการเงินการคลังภาครัฐ
- เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการสาธารณะให้ได้มาตรฐานสากล
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้มีความทันสมัย เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
เป้าหมายการพัฒนา
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบคมนาคมขนส่ง
- การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
- การพัฒนาด้านพลังงาน
- การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
- การพัฒนาด้านสาธารณูปการ (น้ำประปา)
แนวทางการพัฒนา
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
- การสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่ง
- การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
- การพัฒนาด้านพลังงาน
- การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
- การพัฒนาระบบน้ำประปา
- การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
เป้าหมายการพัฒนา
- เพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และด้านเทคโนโลยี
- เพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาสู่ร้อยละ1.5ของ GDP และมีสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนต่อภาครัฐเป็น70:30
- เพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น25คนต่อประชากร10,000คน
- เพิ่มโอกาสการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีพร้อมใช้ของเกษตรกรรายย่อยวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- เพิ่มจำนวนนวัตกรรมทางสังคม และนวัตกรรมสาหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
แนวทางการพัฒนา
- เร่งส่งเสริมการลงทุนวิจัยและพัฒนา และผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม
- พัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี (Technopreneur)
- พัฒนาสภาวะแวดล้อมของการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม
- การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
เป้าหมายการพัฒนา
- ลดช่องว่างรายได้ระหว่างภาคและมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น
- เพิ่มจำนวนเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับคนทุกกลุ่ม ในสังคมตัวชี้วัดเมืองศูนย์กลางของจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่
- พื้นที่ฐานเศรษฐกิจหลักมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เพิ่มมูลค่าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนร้อยละ20
แนวทางการพัฒนา
- การพัฒนาภาคเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กระจายตัวอย่างทั่วถึง
- การพัฒนาเมือง
- การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
- ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนา
เป้าหมายการพัฒนา
- เครือข่ายการเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและมีการใช้ประโยชน์ได้ เต็มศักยภาพ
- ระบบห่วงโซ่มูลค่าในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น
- ประเทศไทยเป็นฐานเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนที่สำคัญในภูมิภาค อนุภูมิภาคอาเซียน และเอเชียรวมทั้งมีการพัฒนาส่วนขยายจากแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้
- ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่สำคัญทั้งในทุกระดับ
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์และโทรคมนาคม ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคภายใต้แผนงาน GMS, ACMECS, IMT-GT, BIMSTEC และ JDS และภูมิภาคอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
- พัฒนาและส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานของการประกอบธุรกิจการบริการและการลงทุนที่โดดเด่น ในภูมิภาค
- การส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ (Outward investment) ของผู้ประกอบการไทย
- เปิดประตูการค้าและพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ ทั้งในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่มีความเสมอภาคกัน
- การสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับประเทศในอนุภูมิภาคภูมิภาคและนานาประเทศ
- บูรณาการภารกิจด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและด้านการต่างประเทศ
- การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างภูมิภาคโดยมีบทบาทที่สร้างสรรค์เพื่อเป็นทางเลือกในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศในเวทีโลกเพื่อรักษาสมดุลในปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยและมหาอำนาจต่างๆทั้งในระดับโลกและภูมิภาค
- ส่งเสริมความร่วมมือกับภูมิภาคและนานาชาติในการสร้างความมั่นคงในทุกด้าน
3) แผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565)
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
“เมืองน่าอยู่ทันสมัย ประตูสู่การค้าการลงทุน ท่องเที่ยวหลายมิติ เกษตรสู่สากล”
คำนิยาม
วิสัยทัศน์ |
ความหมาย |
เมืองน่าอยู่ทันสมัย |
- การพัฒนาเมืองให้มีระบบ ระเบียบ วินัย มีการวางผังเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ ระบบขนส่งมวลชน ภายในจังหวัดให้ทันสมัยเป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อสามารถเชื่อมโยงกับการคมนาคมหลักทั้งทางอากาศ ทางรถไฟ และทางถนน คุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในการชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา การสาธารณสุข และในด้านวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การเสริมสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งจากปัญหาอาชญากรรม อุบัติภัย/ภัยธรรมชาติ ยาเสพติดฯ การแก้ปัญหา และการดูแลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาปรับปรุง และเสริมสร้างระบบสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์) ให้ครอบคลุมพื้นที่ |
ประตูสู่การค้าการลงทุน |
- การส่งเสริมการค้าชายแดน การเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนในภูมิภาค และเมืองที่มีการเจริญเติบโตทางการค้าการลงทุร มีเส้นทางคมนาคมเป็นจุดระบายสินค้าทั้งส่งออกและนำเข้า ที่ส่งเสริมการติดต่อการค้าการลงทุนในภูมิภาคนี้ |
ท่องเที่ยวหลายมิติ |
- การมีการท่องเที่ยวที่หลากหลายและเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว เช่นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณี/การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ/ การท่องเที่ยวอื่นๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น รวมทั้งมีการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวการส่งเสริมและยกระดับศักยภาพของบุคลากรทางการท่องเที่ยว ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐ เอกชนและชุมชน และสนับสนุนการขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวใหม่ |
เกษตรสู่สากล |
- ยกระดับการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อจำหน่ายในระดับสากล โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างเครือข่ายเกษตรกรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ด้านการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกษตร ปลอดภัยปลอดสารเคมี เกษตรอินทรีย์ มีการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภคและการตลาดการเพิ่มมูลค่าผลผลิต (การแปรรูป) |
วัตถุประสงค์
1) พัฒนาระบบผังเมือง โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้มีความทันสมัย รองรับการขยายตัวจากส่วนกลางและการใช้ชีวิตของประชาชนในจังหวัดให้มีความมั่นคง ปลอดภัยใน ทุกมิติ
2) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐานบนความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
3) ส่งเสริมและพัฒนาให้จังหวัดเป็นเมืองศูนย์กลางการประชุมและทางการค้าการลงทุนในภูมิภาคพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชนและยกระดับคุณภาพของบุคลากรทางการท่องเที่ยว
4) ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรรมสมัยใหม่เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม
5) ความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน อาชีพ ฯลฯ
6) การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายการพัฒนา
1) จังหวัดอุบลราชธานี มีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม
2) ประชาชนทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีสุขภาพที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปลอดภัย ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
3) การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน การบริการ เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ในทุกด้านมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและกระจายสู่ประชาชนทุกระดับ การเพิ่มมูลค4) ผลผลิตทางการเกษตร GPP ของจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่มขึ้น
5) เมืองแห่งโอกาสในทุกด้าน (การศึกษา, สุขภาพ, กีฬา, ท่องเที่ยว, การค้าการลงทุน, วัฒนธรรม ฯลฯ)
6) เมืองแห่งการค้าชายแดน (Logistics)
7) เมืองแห่งเกษตรอินทรีย์
8) พัฒนาระบบเทคโนโลยีเมือง (Smart City)
9) เมืองแห่งศูนย์กลางทางการประชุม (MICECity)
10) เมืองแห่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
11) พลังงานทางเลือกจากขยะมูลฝอย หรือพลังงานทดแทน
ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ร้อยละ 1.5 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 7.5
2) ร้อยละของรายได้ต่อหัวของประชากร (Per Capita :GPP) ในพื้นที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายร้อยละ 2.5 ต่อปี
3) ร้อยละของผลคะแนนการสอบในแต่ละระดับชั้น เฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 55
4) สถิติอาชญากรรมลดลง ร้อยละ 25 ต่อปี
ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี ได้กำหนดประเด็นการพัฒนาจังหวัด ไว้ ประเด็นการพัฒนา ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตของประชาชน
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
ประเด็นการพัฒนาที่ 3 การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การยกระดับการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรสู่สากล
ประเด็นการพัฒนาที่ 5 การสร้างความมั่นคงของาติและความปลอดภัยของประชาชน
ประเด็นการพัฒนาที่ 1การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตของประชาชน
1) วัตถุประสงค์
1) การสร้างเสริมพลเมืองให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
2) การพัฒนาและยกระดับคุณภาพทางการศึกษาทุกระดับให้ได้มาตรฐาน
3) ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพียงพอ ทันสมัย เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
๔) พัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี (ของผู้ป่วยที่มาตรวจ
รักษาพยาบาลทั้งจังหวัด)
2) ร้อยละที่ลดลงของจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ร้อยละ 25 ต่อปี
3) ร้อยละของรายได้ต่อหัวของประชากร (Per Capita: GPP) ในพื้นที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.5 ต่อปี
4) ร้อยละของผลคะแนนการสอบในแต่ละระดับชั้น เฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
5) ร้อยละผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานของผู้เรียนสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ร้อยละ 5 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 25
6) ร้อยละของระยะทางเส้นทางคมนาคมที่ได้รับการยกระดับมาตรฐานทางที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 15
7) ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยและขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ต่อปี
8) ร้อยละของการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงาน
แสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 15
3) แนวทางการพัฒนา
1) พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ทุกกลุ่มวัย
2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลด้านต่างๆ ในทุกช่วงวัย
3) พัฒนาระบบผังเมืองโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ให้มีความทันสมัยและปลอดภัย
4) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อรองรับการเข้าสู่ Thailand 4.0
5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อเมืองน่าอยู่ทันสมัย
6) สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
7) สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพเพื่อการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของประชากรในจังหวัด
ประเด็นการพัฒนาที่ ๒ การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
1) วัตถุประสงค์
1) ส่งเสริมการผลิตและกระจายสินค้าเพื่อเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุนในภูมิภาค
2) เชื่อมโยงการค้าการลงทุนในแถบประเทศอินโดจีน
3) ส่งเสริมผู้ประกอบการ/วิสาหกิจ ให้มีศักยภาพด้านการผลิต การค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น
2) เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 2.5
2) มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 4
3) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าสินค้าและบริการของจังหวัด ร้อยละ 0.7 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 3.5
4) แนวทางการพัฒนา
1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics) เพื่อสนับสนุน
การค้า การลงทุน
2) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการค้า การลงทุน เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน
3) ยกระดับการผลิตสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน
4) ส่งเสริมการเปิดตลาด และพัฒนาความร่วมมือทางการค้า การลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ
5) พัฒนาและยกระดับด่านการค้าชายแดนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนและ
ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ
ประเด็นการพัฒนาที่ 3 การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
1) วัตถุประสงค์ การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี และธรรมชาติ
ให้มีความยั่งยืน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ตลอดทั้งปี
2) เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว ร้อยละ 5 ต่อปี ค่าเป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 25
2) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ร้อยละ 4 ต่อปี ค่าเป้าหมายรวม 5 ปี ร้อยละ 20
3) จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน จำนวน 2 แห่งต่อปี เป้าหมาย 5 ปี จำนวน 10แห่ง
3) แนวทางการพัฒนา
1) พัฒนากิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและความหลากหลาย
2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการให้บริการโลจิสติกส์และสิ่งอำนวยความสะดวก
เพื่อรองรับการท่องเที่ยว
3) ยกระดับการผลิตสินค้า การบริการและการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานเพื่อสร้างโอกาส และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
5) ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และขยายฐานการตลาดเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางการ
ท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
6) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
7) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
ประเด็นการพัฒนาที่ 4การยกระดับการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรสู่สากล
1) วัตถุประสงค์
1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตของสินค้าเกษตร
2) เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการผลิตและการแปรรูปให้มีมาตรฐานโดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่
3) เกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนบนพื้นฐานของ
ความพอเพียง
2) เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 15
2) ร้อยละของครัวเรือนเกษตรกรที่น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเกษตร
ร้อยละ 15 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 75
3) ร้อยละเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์ Smart Farmer (เกษตรปราดเปรื่อง) เป้าหมาย 5 ปี
ร้อยละ 40
3) แนวทางการพัฒนา
1) เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรทั้งด้านปริมาณและคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมกับเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์
2) พัฒนา/ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและการแปรรูปให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล
เพื่อการส่งออก
3) พัฒนา/ส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องด้านการเกษตร
๔) ส่งเสริมเกษตรกรให้พัฒนาตนเองโดยใช้หลักแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5) เพิ่มศักยภาพเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องด้านการเกษตรให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer)
ประเด็นการพัฒนาที่ 5 การรักษาความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของประชาชน
1) วัตถุประสงค์
1) พิทักษ์ รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และสร้างความปรองดอง สมานฉันท์
2) ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เสมอภาค เป็นธรรม
3) พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคงและมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
4) สร้างความสอดคล้องด้านความมั่นคงให้สนับสนุนเศรษฐกิจและสังคม ให้มีความ
เข้มแข็ง
2) เป้าหมายและตัวชี้วัด
1) สถิติอาชญากรรมลดลง ร้อยละ 25 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 125
2) สถิติของการจับกุมคดียาเสพติดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 30
3) จำนวนกิจกรรมเพื่อพิทักษ์ รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และการสร้าง
ความปรองดองสมานฉันท์ในพื้นที่ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 100
4) จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความมั่นคงและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ
เพื่อนบ้านไม่น้อยกว่า 25 ครั้งต่อปี
5) จำนวนความตกลงทางเศรษฐกิจตามกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ
สังคม ร้อยละ 5 ต่อปี เป้าหมาย 5 ปี ร้อยละ 25
3) แนวทางการพัฒนา
1) รักษาความสงบเรียบร้อย สร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ในพื้นที่และตามแนวชายแดน
2) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้ามชาติ
ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน
3) ส่งเสริมความร่วมมือและการจัดระเบียบในสังคม/ชุมชนต่างๆ ให้มีความเข้มแข็งทั้งใน
ด้านการดำรงชีวิตและด้านเศรษฐกิจ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
วิสัยทัศน์
“ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง เป็นประตูการค้าการท่องเที่ยว การเกษตรมีศักยภาพ มีการพัฒนาอย่างสมดุล ยั่งยืน ตามแนวทางปัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
1) พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ได้มาตรฐานบริการประชาชน
2) ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพแก่ประชาชน
3) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในระดับท้องถิ่น
4) ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง
5) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการป้องกัน การดูแล และการรักษาสุขภาพ แก่ประชาชน
6) ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสิทธิ หน้าที่ ตามกฏหมาย ในระบอบประชาธิปไตย
7) ส่งเสริมและบูรณาการระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8) ส่งเสริมระบบการตรวจสอบการทำงานภาครัฐโดยภาคประชาชน
9) ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน
10) ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
11) บริหารจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัด
12) ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการพาณิชยกรรม
13) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
14) จัดให้มีระบบบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ
15) อนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
16) บริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1) ระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2) ประชาชนมีความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานภูมิปัญญาสมัยใหม่
3) โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับบริบทวิธีชีวิตของท้องถิ่น
4) ครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง
5) ประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการป้องกันโรคอย่างเป็นระบบ
6) ประชาชนมีความรู้ปรัชญาอุดมการณ์ สิทธิและหน้าที่ของตนเองในระบอบประชาธิปไตย
7) ศูนย์ประสานงานและบูรณาการข้อมูล ทรัพยากร ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8) ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมและกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรภาคประชาชน
9) ระบบการทำงานที่สนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10) ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ มีส่วนร่วม ในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับชั้น
11) ศูนย์บูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
12) อุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลุ่มอาชีพ ได้รับการส่งเสริมแบบครบวงจร (ความรู้ การผลิตการบริหารการตลาด) ในการกำหนดทิศทางการจัดการทุกขั้นตอน
13) ประชาชนมีองค์ความรู้ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในการเข้ามา มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดการทุกขั้นตอน
14) ความเป็นระบบของข้อมูลพื้นที่เป็นสาธารณะผู้รับผิดชอบและการใช้สอยร่วมกันของประชาชน
15) มีการจัดระบบการเรียนรู้เผยแพร่สืบทอดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
16) บริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางที่ 1 วางผังเมืองรองรับการขยายตัวของชุมชน
แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งที่ได้มาตรฐาน
แนวทางที่ 3 พัฒนาระบบชลประทานให้ทั่วถึงและเพียงพอ
แนวทางที่ 4 ขยายเขตการบริการไฟฟ้า ประปา รองรับการขยายตัวของชุมชน
แนวทางที่ 5 พัฒนาระบบระบายน้ำที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการผลิตพืชและสัตว์เศรษฐกิจของจังหวัด
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมแก่ประชาชน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษา สุขภาพประชาชน
แนวทางที่ 4 ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง
แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในระดับท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
แนวทางที่ 1 บูรณาการการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
ของทุกภาคส่วน
แนวทางที่ 2 เสริมสร้างองค์ความรู้ประชาธิปไตย สิทธิ หน้าที่ และกฎหมาย แก่ประชาชน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมและบูรณาการระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด
แนวทางที่ 4 ส่งเสริมระบบการตรวจสอบการทำงานภาครัฐโดยประชาชน
แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการรวมกลุ่มภาคประชาชนให้เข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่
แนวทางที่ 2 พัฒนาศักยภาพด้านการบริการแก่นักท่องเที่ยว
แนวทางที่ 3 อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวของส่วนรวม
แนวทางที่ 4 สร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
แนวทางที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ
แนวทางที่ 6 ส่งเสริมการลงทุนและการพาณิชยกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 1 บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดินและน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบการกำจัดขยะและน้ำเสียให้ถูกสุขลักษณะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมให้ชุมชนปลอดมลภาวะ
แนวทางที่ 4 จัดให้มีระบบบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ 1 อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ 2 จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้และการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
แนวทางที่ 3 จัดให้มีศูนย์การเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางที่ 1 พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางที่ 3 พัฒนาเครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องจักรกลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารงานเชิงบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3.5 THAILAND 4.0
ไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัสน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญ ในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อปรับแก้จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศ ให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้
ประเทศไทย 4.0 จึงเป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม” ให้เป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น “5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ประกอบด้วย
- กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)
- กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness&Bio-Med)
- กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics)
- กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology)
- กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services)
ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง “New Startups” ต่างๆ มากมาย อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Food)ในกลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา ในกลุ่มที่ 2 เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech) ในกลุ่มที่ 3เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี–มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี–คอมเมิร์ซ (E–Commerce) ในกลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) ในกลุ่มที่ 5 เป็นต้น
เป้าหมายของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” คือ การขับเคลื่อน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า เป็นการเปลี่ยน “ปัญหาและความท้าทาย” ให้เป็น “ศักยภาพและโอกาส” ในการสร้างความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรมเช่น เปลี่ยนจากปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุให้เป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีพลัง (Active Aging) การพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ การยกระดับเมืองให้เป็น SmartCity การเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล มันสำปะหลัง ให้กลายเป็นอาหารสุขภาพ (Functional Foods) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceutics) ที่มีมูลค่าสูง การเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม ให้เป็นการเกษตรแม่นยำสูง (Precision Farming) และพัฒนาระบบการบริหารจัดการและเทคโนโลยีน้ำ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ “ประเทศไทย 4.0” มี 3 ประเด็นที่สำคัญ
- เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม
- เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน
- เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”
2 ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.1 วิสัยทัศน์
“เป็นกลไกขับเคลื่อนท้องถิ่น ให้พัฒนาอย่างยั่งยืน”
2.2 ยุทธศาสตร์
1) การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4) การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
5) การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
2.3 เป้าประสงค์
1) ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
2) องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
3) ประชาชนมีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ
4) ประชาชนเดินทางสัญจรไปมาได้สะดวกมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5) ประชาชนมีน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรกรรม
6) จัดกิจกรรม/สถานที่บริการประชาชนด้านการกีฬาและนันทนาการ
7) จัดกิจกรรมด้านการสาธารณสุขบริการประชาชน
8) ผู้พิการ ผู้สูงอายุผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบสาธารณภัยได้รับการสงเคราะห์
9) ประชาชนมีองค์ความรู้และมีส่วนร่วมด้านการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
10) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษา
11) ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่
12) ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยจากการใช้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
13) ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยจากการใช้บริการศูนย์แสดง และจำหน่าย
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
14) ประชาชนพึงพอใจในการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว
2.4 ตัวชี้วัด
1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
2) องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จัดการศึกษาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
3) ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน
4) ประชาชนพึงพอใจในการสัญจร
5) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อการบริหารจัดการน้ำ
6) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อการดำเนินงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
7) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการดำเนินงานด้านพัฒนาการสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม
8) ระดับความพึงพอใจของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบสาธารณภัย ที่ได้รับการสงเคราะห์
9) ผู้เข้าร่วมโครงการด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
10) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
12) ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
13) ระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
14) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อการดำเนินงานด้านส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี
2.5 ค่าเป้าหมาย
1) ร้อยละ 90 (เพิ่มขึ้นปีละ 2 เกณฑ์)
2) ร้อยละ 60 (เพิ่มขึ้นปีละ 5%)
3) ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
4) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
5) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
6) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
7) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
8) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
9) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
10) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
11) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
12) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 86 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
13) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 86 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
14) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 (เพิ่มขึ้นปีละ 1%)
2.6 กลยุทธ์
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
1) สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี
2) พัฒนาระบบการบริหารงานคลัง
3) พัฒนาทักษะและศักยภาพของบุคลากร
4) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น
1) พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
2) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
3) พัฒนาอาคารสถานที่ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
4) พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษา
5) พัฒนาองค์ความรู้และทักษะของประชาชน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1) พัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งตามภารกิจถ่ายโอน
2) พัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
3) เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่ง
4) บริหารจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
1) พัฒนาและส่งเสริมการกีฬา
2) พัฒนาการสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม
3) ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
4) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) อนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
1) ส่งเสริมการลงทุนและการพาณิชยกรรม
2) บริหารจัดการการท่องเที่ยว
2.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน (Upper tier) มีหลักความรับผิดชอบในภารกิจที่เป็นภาพรวมครอบคลุมทั้งจังหวัด ภารกิจที่ระดับล่างทำไม่ได้ และประสานสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง (เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล) ให้เกิดการบูรณาการทั้งในเชิงพื้นที่และหน้าที่ เพื่อการจัดบริการสาธารณะให้ตรงต่อความต้องการของประชาชน อันจะนำมาซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยมีข้อมูลเกี่ยวข้องที่สำคัญ ดังนี้
- การบริหารงานยุทธศาสตร์สอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
- กำหนดภารกิจหลักที่เหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ (จากการประชาคม) ภายใต้อำนาจหน้าที่ ทรัพยากร และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งจากข้อมูล การประชาคมตั้งแต่ปี 2549 – 2559 ประชาชนได้เสนอแนะปัญหาความต้องการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเป็นลำดับแรก ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้กำหนดจุดอื่นทางยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการน้ำ โดยได้กำหนดนโยบายแก้แล้ง/ น้ำดี ไว้ดังนี้
- สนับสนุนการขุดลอกห้วย หนอง คลอง บึงและแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเครื่องจักรกลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
- สนับสนุนการขุดคลองส่งน้ำเชื่อมระหว่างแหล่งน้ำต้นทุนเข้าสู่พื้นที่การเกษตร (ตาข่ายน้ำ)
- สนับสนุนการสร้างชลประทานระบบท่อ ให้ประชาชนสามารถทำการเกษตรกรรมได้ ตลอดปี แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ปัญหาน้ำท่วม ตลอดจนแก้ไขปัญหาการว่างงาน ปัญหาการอพยพแรงงานนอกฤดูกาล ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ช่วยแก้ไขหรือลดปัญหาทางสังคม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- สนับสนุนการจัดหาเครื่องสูบน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
- ส่งเสริมให้เกษตรกรขุดสระน้ำในไร่นาโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสนับสนุนเครื่องจักรกล โดยประชาชนสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายและเข้าถึงการบริการจากภาครัฐเพิ่มยิ่งขึ้น ประชาชนมีแหล่งน้ำต้นทุนในการปลูกพืชผักสวนครัวหรือเลี้ยงสัตว์อันเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นของประชาชน
- สนับสนุนการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และฝายชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ กลุ่มประชาชนเป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง
- สนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดระบบบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนทั้งด้านองค์ความรู้ เทคนิค วิชาการ งบประมาณ และบุคลากรมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแผนพัฒนาจังหวัด |
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ
“สังคมประชาธิปไตย ก้าวไกลการศึกษา สิ่งแวดล้อมดี ประเพณีโดดเด่น
ศูนย์กีฬา พัฒนาเกษตรปลอดสาร”
พันธกิจ
- 1. ส่งเสริมและพัฒนาค่านิยมประชาธิปไตยและจิตสำนึกสาธารณะให้เข้มแข็ง ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง, การกระจายอำนาจ, วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ตั้งแต่ระดับครอบครัว, ชุมชน, ท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ
2.ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
3.รักษาและส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของคนตำบลนาเจริญ ให้เป็นสังคมคุณธรรม ที่ชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่กัน
4.เพื่อส่งเสริมการเล่นกีฬาการออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ และเพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัด
กิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬาและสุขภาพ
5.การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรปลอดสารพิษ โดยเน้นให้เกษตรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อความยั่งยืน
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1.ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- ชุมชนได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักธรรมาภิบาลทางศาสนาในการดำเนินชีวิต อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมของท้องถิ่น
3.เพิ่มพูนการเรียนรู้ของชุมชนธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.เป็นศูนย์กลางการเล่นกีฬา การออกกำลังกายและพัฒนาสุขภาพ
5.เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนประชาชนพึ่งพาตนเองได้และปัญหาความยากจนลดลงตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้กระผมขอความเห็นครับ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย
เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความสะดวกและมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะให้ความสะดวก และรวดเร็วขึ้น โดยเน้นการมีมาตรฐานและเกิดความยุติธรรมดังนี้
- ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ
- ก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะ
- ก่อสร้างและปรับปรุง บำรุงรักษาและขยายเขตระบบประปา
- การบริการสาธารณะที่ประชาชนพึงได้รับอย่างถ้วนหน้า
- การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
- การพัฒนาระบบสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ตัวชี้วัด
- จำนวนการก่อสร้างและปรับปรุงถนนทางระบายน้ำ
- จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ครบทุกครัวเรือน
- จำนวนปริมาณการขยายเขตประปาให้ครบทุกครัวเรือน
- จำนวนการได้รับบริการสาธารณะอื่น
- มีแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่ออุปโภคบริโภค
- มีระบบสื่อสารในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้น
- ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของจังหวัด
เป้าหมาย
เพื่อประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงแผนการกระจายอำนาจฯตามแนวนโยบายของรัฐบาลและจังหวัด เช่น ระบบการศึกษา
แนวทางการพัฒนา
- ส่งเสริมมาตรการป้องกัน เผ้าระวังรักษาบำบัดผู้เสี่ยงติดยาเสพติดและการรักษาสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลดปัญหาความรุนแรงของครอบครัว อุบัติเหตุ อุบัติภัย อาชญากรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
ตัวชี้วัด
โครงการ/กิจกรรม ตามแนวนโยบายของรัฐบาลและจังหวัด
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างทักษะของคนภายในชุมชนทั้งทางด้านจิตใจ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการและสังคม ด้านกีฬา ให้มีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้
แนวทางการพัฒนา
- การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
- การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา
- การพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
- การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการของชุมชน
- การพัฒนาด้านการกีฬาและนันทนาการ
ตัวชี้วัด
- จำนวนชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
- จำนวนเด็กและเยาวชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น
- จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ลดน้อยลง
- จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
- ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวนอุบัติเหตุ อุบัติภัยอาชญากรรมมีจำนวนลดลง
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
เพื่อรักษาสถานภาพของทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้เสื่อมโทรมไปกว่าในปัจจุบัน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ควบคุม ป้องกัน และขจัดปัญหาภาวะมลพิษ อนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม เพื่อเป็นมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศ ชุมชนและประชาชนมีจิตสำนึก และจิตวิญญาณ รวมทั้งมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมในการจัดการ สิ่งแวดล้อมในรับที่เหมาะสม
แนวทางการพัฒนา
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน
- ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา
- การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด
- ร้อยละพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมีมากขึ้น
- ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและให้บรรจุแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดอุบลราชธานี ตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วนในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
- ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา
- ส่งเสริมและพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด
- จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
- จำนวนบุคลากรและอุปกรณ์มีศักยภาพในการบริการประชาชนเพิ่มขึ้น
- ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
- ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย
เป้าหมาย
เพื่อเตรียมความพร้อมด้านวัสดุ เครื่องจักรกล อุปกรณ์กู้ภัย ช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในสำนักมาตรการป้องกันสาธารณภัย
แนวทางการพัฒนา
- การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เสริมสร้างทำนุบำรุงพุทธศาสนา
ตัวชี้วัด
- จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์จารีตประเพณี
- จำนวนการจัดงานส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางเศรษฐกิจระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ให้มีความสามารถและทักษะในการพัฒนาฝีมือในการผลิตเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ตลาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร และยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดอุบลราชธานี
แนวทางการพัฒนา
- ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
- ส่งเสริมและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ
- สร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
- ส่งเสริมราษฎรมีงานทำ
ตัวชี้วัด
- จำนวนครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
- เกษตรกรมีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์
- ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการมูลค่าสินค้าการเกษตร
- ส่งเสริมให้ราษฎรมีรายได้มีงานทำ
2.8 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
- การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด |
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
- การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การสร้างความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของประชาชน |
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การเสริมสร้างความมั่นคง |
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- |
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การบริหารจัดการภาครัฐ |
7) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
-การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน -การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา -การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น |
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
- การส่งเสริมคุณภาพชีวิต |
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน |
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม
|
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- |
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ -การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาล ในสังคมไทย
|
8) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1)ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน |
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
|
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
|
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว
|
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การใช้โอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภาคกลางและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อพัฒนาเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆของภาค - บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต อย่างยั่งยืน |
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบ โลจิสติกส์ |
8) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- การสร้างความสามารถในการแข่งขัน |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
- การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
|
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
|
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
- การส่งเสริมคุณภาพชีวิต - การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย |
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตของประชาชน - การสร้างความมั่นคงของาติและความปลอดภัยของประชาชน |
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม
|
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- |
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ - การสร้างความเป็นธรรมแลพลดความเหลื่อมล้ำในสังคม - การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
8) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน - การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม - การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
- การส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิตการเกษตร - -ส่งเสริมการเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ - ส่งเสริมการมีงานทำ - สร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว |
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
- การวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว |
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การส่งเสริมการค้าและการลงทุน - การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ |
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว
|
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2560 - 2564) |
- พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ
|
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน |
8) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- การสร้างความสามารถในการแข่งขัน |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
- การสนับสนุนกิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การสร้างความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของประชาชน |
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
|
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
|
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การสร้างความมั่นคงของาติและความปลอดภัยของประชาชน |
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
-
|
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน |
8) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ |
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธศาสตร์ตามแผนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของจังหวัด
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
3) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ |
- การสนับสนุนกิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
2) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน -การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
-การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตของประชาชน -การส่งเสริมการค้าและการลงทุน -การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ -การยกระดับการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรสู่สากล -การสร้างความมั่นคงของาติและความปลอดภัยของประชาชน |
4) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
-การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพ ชีวิตของประชาชน -การส่งเสริมการค้าและการลงทุน -การยกระดับการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรสู่สากล |
5) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
- การสร้างความมั่นคง |
6) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
-บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต อย่างยั่งยืน -
|
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน -การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาล ในสังคมไทย -การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
|
8) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
- ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ |
(3) การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
3.1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.1.1 การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพ
1) การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงความสอดคล้องของยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัด
|
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด |
ยุทธศาสตร์ที่ 7 - การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
|
3) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 |
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 - การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน
|
4) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) |
- |
5) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
- |
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 - การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย
|
7) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 - การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น
|
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การส่งเสริมคุณภาพชีวิต |
3) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 - การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน |
4) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
|
5) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การแก้ปัญหาความยากจน และพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีรายได้น้อย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
|
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
|
7) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 - การพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 - การสร้างโอกาสความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ทางสังคม
|
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 - การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
|
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
|
3) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 - การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน
|
4) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว |
5) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 - การใช้โอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ที่เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภาคกลาง และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อพัฒนาเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ ของภาค
|
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 7 - การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ |
7) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
|
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 - การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
|
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 3 - การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษา ความสงบเรียบร้อย ยุทธศาสตร์ที่ 5 - การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 - การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
3) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ. 2561 -2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 - การพัฒนาเมืองน่าอยู่ทันสมัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ประเด็นการพัฒนาที่ 5 - การสร้างความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัย ของประชาชน
|
4) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ. 2561-2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นการพัฒนาที่ 3 - การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ประเด็นการพัฒนาที่ 4 - การเสริมสร้างความมั่นคง
|
5) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - แก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีรายได้น้อย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม |
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 4 - การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 - การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง และยั่งยืน
|
7) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 3 - การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 - การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ทางสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 5 - การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ |
ความเชื่อมโยง |
1) ยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 - การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
|
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 - การวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
|
3) แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 - การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ประเด็นการพัฒนาที่ 3 - การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงคุณภาพ
|
4) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) |
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว |
5) แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ |
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 - การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
|
7) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
|
ส่วนที่ 3 การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ |
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน
ที่ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
ด้าน |
แผนงาน |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
หน่วยงานสนับสนุน |
|
1
|
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
|
-ด้านบริการชุมชนและสังคม |
-แผนงานเคหะและชุมชน -แผนงานการศึกษา |
-กองช่าง
-กองการศึกษา |
|
|
2 |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ |
-ด้านการเศรษฐกิจ |
-แผนงานการเกษตร
|
-สำนักปลัด |
|
|
3 |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
-ด้านบริหารทั่วไป
-ด้านการดำเนินงานอื่น
|
-แผนงานการรักษาความสงบภายใน -ด้านการดำเนินงานอื่น
|
-สำนักปลัด
-สำนักปลัด |
|
|
4 |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม |
-ด้านบริหารทั่วไป |
-แผนงานการบริหารงานทั่วไป
|
- สำนักปลัด |
|
|
5 |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต
|
-ด้านบริการชุมชนและสังคม
|
-แผนงานการศึกษา -แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ -แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
|
-กองการศึกษา
-สำนักปลัด |
|
|
ที่ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
ด้าน |
แผนงาน |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
หน่วยงานสนับสนุน |
6 |
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของจังหวัด
|
-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-ด้านการดำเนินงานอื่น
|
-แผนงานการศึกษา -แผนงานสาธารณสุข -แผนงานสังคมสงเคราะห์ -แผนงานเคหะและชุมชน -แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน -แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ -ด้านการดำเนินงานอื่น |
-กองการศึกษา -สำนักปลัด -สำนักปลัด -กองช่าง -สำนักปลัด
-กองการศึกษา
สำนักปลัด |
|
7 |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
|
ด้านบริหารทั่วไป |
-แผนงานบริหารงานทั่วไป
|
-สำนักปลัด |
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
1.
|
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยนาพ่อจำนง มุทาวัน หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
|
ก่อสร้างถนน คสล. ซอยนาพ่อจำนง มุทาวัน กว้าง 4 เมตร ยาว 200 เมตร หนา 0.15 เมตร หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 800 ตร.ม.ลงลูกรังไหล่ทางข้างละ 0.20-0.50 ตามแบบ ท1-01 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000
|
432,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง (10) |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
2.
|
โครงการก่อสร้างถนน คสล.ซอย 7หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ซอย 7หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญกว้าง 4 เมตร ยาว 80 เมตร หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 320 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทางข้างละ 0.20-0.50 ตามแบบท1-01 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 13 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
3. |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.ซอย 8หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ซอย 8หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญกว้าง 4 เมตร ยาว 80 เมตร หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 320 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทางข้างละ 0.20-0.50 ตามแบบ ท1-01 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 14 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
4. |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังสายหนองสี่เหลี่ยมหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังสายหนองสี่เหลี่ยมหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ กว้าง 4 เมตร ยาว 1500 เมตร หนาเฉลี่ย 0.10 หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 6000 ตร.ม. พร้อมเกรดบดอัดตลอดสาย |
375,000 |
375,000 |
375,000 |
375,000 |
375,000 |
1.เป็นไปตามแบบปร.4,ปร.5 ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 11 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
5.
|
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังซอย แม่บัวลาหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังซอย แม่บัวลาหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ กว้าง 3 เมตร ยาว 300 เมตร หนาเฉลี่ย 0.10 หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. พร้อมเกรดบดอัดตลอดสาย |
56,250 |
56,250 |
56,250 |
56,250 |
56,250 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
6. |
โครงการซ่อมแซมถนนคสล.จากวัดป่าหนองบัวแดงถึงสระหนองบัวแดงหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนคสล.จากวัดป่าหนองบัวแดงถึงสระหนองบัวแดงหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง กว้าง 4 เมตร ยาว 300 เมตร หนาเฉลี่ย 0.10 หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 1,200 ตร.ม. |
75,000 |
75,000 |
75,000 |
75,000 |
75,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 2 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
7.
|
โครงการก่อสร้างถนนคสล.จากวัดป่าหนองบัวแดงถึงสายแยกไปหนองควายชุมหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.จากวัดป่าหนองบัวแดงถึงสายแยกไปหนองควายชุมหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดงผิวจราจร กว้าง 5 เมตร ยาว 200 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 1,000 ตร. ม. ลงลูกรังไหล่ทางข้างละ 0.20-0.50 เมตร ตามแบบท1-01 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
1. เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
8 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านหนองบัวแดงน้อยถึงถนน24 หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านหนองบัวแดงน้อยถึงถนน24 หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง ผิวจราจร กว้าง 4 เมตร ยาว 80 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 320 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทางข้างละ 0.20-0.50 เมตร ตามแบบ ท1-01 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
172,800 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 1 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
9 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านนายวิชัย พันคำเสน ถึงหน้าโรงเหล็ก (ถนน 24 ) หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านนายวิชัย พันคำเสน ถึงหน้าโรงเหล็ก (ถนน 24) หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง ผิวจราจร กว้าง 5 เมตร ยาว 200 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 1,000 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทางข้างละ 0.20-0.50 เมตร ตามแบบ ท1-01 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง, 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
10 |
โครงการซ่อมแซมปรับปรุงถนน คสล.จากบ้าน ผญ.บ้านถึงบ้านนายหำ พิมราชหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมปรับปรุงถนน คสล.จากบ้าน ผญ.บ้านถึงบ้านนายหำ พิมราชหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง โดยลาดยางแอสท์พัลติกคอน กรีตทับหน้าผิวจราจรเดิมหนา 4 ซม. กว้าง 4 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 800 ตร.ม. |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
1 เป็นไปตามแบบปร.4 ปร.5 ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 8 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
11 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.ทางเข้าศพด.หนองบัวแดงหมู่ที่ 2 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ทางเข้าศพด.หนองบัวแดงหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดงกว้าง4เมตร ยาว 50 เมตร หรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ตรม. |
108,000 |
108,000 |
108,000 |
108,000 |
108,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
12 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังจากห้วยตำแยถึงถนน 24หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังจากห้วยตำแยถึงถนน 24หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วย งานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
13 |
โครงการขยายถนนลูกรังสายโนนบากถึงเขตโคกสว่างหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อขยายช่องทางการจราจรให้กว้างขึ้นสามารถสัญจรไป-มาได้สะดวก |
ขยายถนนลูกรังผิวจราจรตลอดสายความยาว 1000 ม. ขยายเพิ่มข้างละ 0.5ม.หรือข้างละ 1.00 ม. พื้นที่ดำเนินการ 1000 ตร.ม. หนา 0.15 ม. เกรดบดอัดตลอดสาย |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 6 |
14 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.วัดบ้านโนนบากหมู่ที่ 3 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.วัดบ้านโนนบากหมู่ที่ 3 ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 150 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. หนา 0.15 ม. ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
1. เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
15 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.สายหนองสระไปหนองหว้าหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.สายหนองสระไปหนองหว้าหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 230 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 920 ตร.ม. หนา 0.15 ม. ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
16 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.คุ้มหนองไฮน้อย หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.คุ้มหนองไฮน้อย หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 100 ม. หรือมีพื้นทีดำเนินการไม่น้อยกว่า 400 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
216,000 |
216,000 |
216,000 |
216,000 |
216,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 8 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
17 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังสายโนนป่ายางหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังสายโนนป่ายางหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก ผิวจราจรกว้าง 4 ม.ยาว 1,300 เมตรหรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5,200ตรม. |
32,500 |
32,500 |
32,500 |
32,500 |
32,500 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 5 |
18 |
ก่อสร้างถนนลูกรังสายไปล่องแสง บ้านโนนบากหมู่ 3 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ขนาดถนนกว้าง 5 เมตรยาว 400 เมตร โดยถมดินความสูง 50 ซม. พร้อมลงลูกรังหนาเฉลี่ย 0.10 เมตร |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
1 ตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
|||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
|
||||||
19 |
โครงการก่อสร้างศาลาประชาคมบ้านห่องคำหมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ภายในชุมชนในการประชุมหรือทำกิจกรรม |
ก่อสร้างศาลาประชาคมบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมหรือจัดประชุมภายในชุมชนบ้านห่องคำ |
กองช่าง 16 |
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
|||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
||||||||
|
20 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.ซอยหลังโรงเรียน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ซอยหลังโรงเรียน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 230 หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 920 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 12 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
21 |
โครงการก่อสร้างถนนคสล.ซอยห้วยแคนใหญ่บ้านห่องคำหมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ซอยห้วยแคนใหญ่บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 2.50 ม. ยาว 100 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 250 ตร.ม.ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
135,000 |
135,000 |
135,000 |
135,000 |
135,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 17 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
22 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยดอนปู่ตาบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล. ซอยดอนปู่ตาบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 230 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 690 ตร.ม.ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
372,600 |
372,600 |
372,600 |
372,600 |
372,600 |
1 การก่อสร้าง เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
23 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยข้างวัดบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล. ซอยข้างวัดบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 150 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 450 ตร.ม.ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
243,000 |
243,000 |
243,000 |
243,000 |
243,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 13 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
24 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังรอบบ้านทางทิศเหนือบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังรอบบ้านทางทิศเหนือบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 200 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. |
37,500 |
37,500 |
37,500 |
37,500 |
37,500 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 5 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
|
|
||||
25 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยนาพ่ออ้อมบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล. ซอยนาพ่ออ้อมบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 230 ม.หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 920ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 5 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
26 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังซอยข้างวัดบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังซอยข้างวัดบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 กว้าง 4 ม.ยาว 150ม. สูง 0.40 เมตร พื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. |
37,500 |
37,500 |
37,500 |
37,500 |
37,500 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
27 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยแหลมทองบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยแหลมทองบ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 230 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 920 ตร.ม. ลงลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
496,800 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
28 |
โครงการซ่อมแซมถนน คสล.สายกลางบ้าน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนน คสล.พร้อมลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตทับผิวจราจรเดิมสายกลางบ้าน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4พื้นผิวที่ชำรุด,เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนด |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
29 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังสายจากหลังโรงเรียน-สามแยก บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังสายจากหลังโรงเรียน-สามแยก บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 200 ม. สูง 0.40 ม. |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต. ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 6 |
30 |
โครงการก่อสร้างตลาดส่วนกลางการเกษตร
|
เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร |
ก่อสร้างตลาดส่วนกลางการเกษตร 1 แห่ง |
850,000 |
850,000 |
850,000 |
850,000 |
850,000 |
1 แห่ง
|
ประชาชนมีตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรภายในชุมชน |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
31 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านโนนจิกถึงบ้านโนนบาก |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านโนนจิกถึงบ้านโนนบากหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิกผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
486,000 |
486,000 |
486,000 |
486,000 |
486,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนด ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 8 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
32 |
โครงการปรับปรุงถนนลูกรังสายข้างป่าช้าถึงลำห้วยข้าวสารหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ปรับปรุงถนนลูกรังสายข้างป่าช้าถึงลำห้วยข้าวสารหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิกผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
56,000 |
56,000 |
56,000 |
56,000 |
56,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนด ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 5 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
33 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.สายกลางบ้านหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.สายกลางบ้านหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิกผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 150 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
34 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.ซอยนางไม ทองเปลวหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ซอยนางไม ทองเปลวหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 95 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 380 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม. พร้อมวางท่อระบายน้ำขนาด 0.30ม.*1ม.จำนวน 6 ท่อน ตามแบบ ท1-01 |
208,000 |
208,000 |
208,000 |
208,000 |
208,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 12 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
35 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังคุ้มหนองแวงงามหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังคุ้มหนองแวงงามหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตยผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 480 ม. หรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,920 ตรม. |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
1 เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
|
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
36 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. จากหนองแวงงามถึงนานายนิคมสำโรงหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล. จากหนองแวงงามถึงนานายนิคมสำโรงหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตยผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 160 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 640 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
345,000 |
345,000 |
345,000 |
345,000 |
345,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนด ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
37 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังจากถนน อบ 2055 ถึงห้วยตำแยหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังจากถนน อบ 2055 ถึงห้วยตำแยหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย ผิวจราจรกว้าง 5 ม. ยาว 150 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 750 ตร.ม. |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 8 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
38 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังจากที่นานายนิคม เทียนชัยถึง นานายบรรยง คำเสมอ หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังจากที่นานายนิคม เทียนชัยถึง นานายบรรยง คำเสมอ หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตยผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 150 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 450 ตร.ม. |
28,000 |
28,000 |
28,000 |
28,000 |
28,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 11 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วย งานรับผิด ชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
39 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.บ้านนายสวัสดิ์ นูกอง -บ้านนายสายสิน มีทรัพย์หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.บ้านนายสวัสดิ์ นูกอง - บ้านนายสายสิน มีทรัพย์หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย โดยมีพื้นที่กว้าง 4 เมตร ยาว 50 เมตรหรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 200 ตร.ม. |
108,000
|
108,000
|
108,000
|
108,000
|
108,000
|
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 15 |
40 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.สายหนองควายชุมหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.สายหนองควายชุมหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญผิวจราจรกว้าง 5 ม. ยาว 180 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
486,000 |
486,000 |
486,000 |
486,000 |
486,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 1 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
41 |
โครงการขยายไหล่ทางสายโนนธาตุ หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
เพื่อขยายช่องทางการจราจรให้กว้างขึ้นสามารสัญจรไป-มาได้สะดวก |
ขยายไหล่ทางสายโนนธาตุ หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย ขยายไหล่ทาง กว้าง 1 เมตร ยาว 200 เมตร |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ช่องทางการจราจรกว้างขึ้นงานต่อการสัญจรไป-มา |
กองช่าง |
42 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.สายไปนานายหนาหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.สายไปนานายหนาหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 250 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 1000 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
540,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
43 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.จากแยกที่นานางตื้น-หน้าโรงเรียนนากระแซง หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.จากแยกที่นานางตื้น-หน้าโรงเรียนนากระแซง หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ ผิวจราจรกว้าง 5 ม. ยาว 250 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 1,250 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
675,000 |
675,000 |
675,000 |
675,000 |
675,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 5 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
44 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังซอยที่นานายประยูร (มหายูร) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังซอยที่นานายประยูร (มหายูร) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 14 |
45 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรัง ซอยที่นานายพงษ์ พลเทพ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรัง ซอยที่นานายพงษ์ พลเทพ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญเป็นไปผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 11 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
46 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรัง ซอยที่นายายการ ล้ำเลิศ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรัง ซอยที่นายายการ ล้ำเลิศ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
47 |
โครงการลงลูกรังซอยบ้านพ่อสัมพันธ์ ก้อนกลิ่น หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ลงลูกรังซอยบ้านพ่อสัมพันธ์ ก้อนกลิ่น หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
1.การลงลูกรังตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 6 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
48 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.บ้านสี่แยกโนนทองเชื่อมบ้านโนนสว่างหมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.บ้านสี่แยกโนนทองเชื่อมบ้านโนนสว่างผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 150 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
49 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.ซอยที่นานายถา อำประเสริฐบ้านโนนสว่างหมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.ซอยที่นานายถา อำประเสริฐบ้านโนนสว่างหมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทองผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 800 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
50 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรังสายดอนแคนถึงซอยดอนพิมาน หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรังสายดอนแคนถึงซอยดอนพิมาน หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทองผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 100 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 400 ตร.ม. |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
51 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล. ซอยพิลานาดี หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล. ซอยพิลานาดี หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
324,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
52 |
โครงการก่อสร้างถนนลูกรัง ซอยพิลานาดี (ที่นานางเพ็ญ โซ่พลงาม) หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนนลูกรัง ซอยพิลานาดี (ที่นานางเพ็ญ โซ่พลงาม) หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 600 ตร.ม. |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
1 การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 2 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
53 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.สายไปห้วยนางตุ้มหมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.สายไปห้วยนางตุ้มหมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนาผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 800 ตร.ม.ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 2 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
54 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรัง ซอยเกษตร – ห้วยนาตุ้มหมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรัง ซอยเกษตร – ห้วยนาตุ้มหมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนาผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 500 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 1,500 ตร.ม. |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
1 เป็นไปตามแบบแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 8 |
55 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังสายที่นานายสุภี ไชยฤทธิ์หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังสายที่นานายสุภี ไชยฤทธิ์หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา,ผิวจราจรกว้าง 3 ม. ยาว 300 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 900 ตร.ม. |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนด ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 5 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
56 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.บ้านศรีนวลพัฒนา – โนนสุขสันต์ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.บ้านศรีนวลพัฒนา – โนนสุขสันต์ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 800 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
1 การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
57 |
โครงการก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านนายพร ดาราพันธ์ – ห้วยไผ่ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ก่อสร้างถนน คสล.จากบ้านนายพร ดาราพันธ์ – ห้วยไผ่ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 200 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 800 ตร.ม. ลูกรังไหล่ทาง ข้างละ 0.20-0.50 ม.ตามแบบ ท1-01 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
432,000 |
1 การก่อสร้าง เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 6 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
58 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกสายแยกถนน สาย 24-บ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ 2 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกสายแยกถนน สาย 24-บ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ 2ผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 1,000 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 4,000 ตร.ม. |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
1.เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 6 |
59 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกสายข้างวัดฝั่งตะวันตกวัดบ้านโนนบากถึงลำห้วยข้าวสาร |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกสายข้างวัดฝั่งตะวันตกวัดบ้านโนนบากถึงลำห้วยข้าวสารผิวจราจรกว้าง 4 ม. ยาว 1,000 ม. หรือมีพื้นที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 4,000 ตร.ม. |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
1.เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง |
บัญชีโครงการพัฒนา
แบบ ผ.02 |
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
60 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกถนนสายวัดป่าห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกถนนสายวัดป่าห่องเตย, ตามแบบที่อบต.กำหนด |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1.เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง 6 |
61 |
โครงการซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกสายหนองควายชุม หมู่ที่ 8 |
เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ซ่อมแซมถนนลูกรังโดยลงหินคลุกสายหนองควายชุม หมู่ที่ 8,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1.เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจในการสัญจรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนสามารถสัญจรไป – มา ได้สะดวกรวดเร็วมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
62 |
ก่อสร้างรั้ว ศพด.บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับเด็ก |
ก่อสร้างรั้ว ศพด.บ้านหนองบัวแดง ตามแบบที่อบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
-เด็กมีความปลอดภัยและ ป้องกันทรัพย์สินสูญหาย |
กองช่าง,กองการศึกษาฯ |
63 |
ต่อเติมอาคารเรียน ศพด.ในสังกัด ทั้ง 5 แห่ง |
-เพื่อให้มีห้องเรียนที่เพียงพอสำหรับจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็ก |
ต่อเติมอาคารเรียน ศพด.ในสังกัด ทั้ง 5 แห่ง ตามแบบที่อบต.กำหนด |
600,000 |
600,000 |
600,000 |
600,000 |
600,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีห้องเรียนที่ได้มาตรฐาน เพียงพอสำหรับเด็ก
|
กองช่าง,กองการศึกษาฯ |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
64 |
ก่อสร้างสนามกีฬาเด็กปฐมวัย ศพด. มงคลชโลธร |
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาครบทั้งสี่ด้านเหมาะสมตามวัย |
สนามกีฬา เด็กปฐมวัย ศพด.มงคลชโลธร,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีสนามกีฬาที่ได้มาตรฐาน เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย |
กองการศึกษาฯ |
65 |
ก่อสร้างโดมอเนกประสงค์ ศพด.บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆของ ศพด. |
โดมอเนกประสงค์ ศพด.บ้านสี่แยกโนนทอง,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ของเด็ก |
กองการศึกษาฯ |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
66 |
ก่อสร้างโดมอเนกประสงค์ ศพด.บ้านนาเจริญ |
เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆของ ศพด. |
โดมอเนกประสงค์ ศพด.บ้านนาเจริญ |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
1 การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ของเด็ก |
กองการศึกษาฯ |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
67 |
โครงการขุดลอกห้วยตำแยตอนกลาง(ท่าน้ำจ้อย)หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกห้วยตำแยตอนกลาง(ท่าน้ำจ้อย)หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอมากขึ้น |
กองช่าง 8 |
68 |
โครงการติดตั้งฟ้าส่องสว่างซอยสายแยกสมานฉันท์ หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อเพิ่มแสงสว่างตามถนนและที่สาธารณะประโยชน์ |
ติดตั้งฟ้าส่องสว่างซอยสายแยกสมานฉันท์ หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีไฟฟ้าส่องสว่างตามถนนและที่สาธารณะประโยชน์ซอยสายแยกสมานฉันท์หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
69 |
โครงการก่อสร้างร่องระบายน้ำจากแยกบ้านแม่บุญมา-ศพด.นาเจริญหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก |
ก่อสร้างล่องระบายน้ำจากแยกบ้านแม่บุญมา-ศพด.นาเจริญหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
390,000 |
390,000 |
390,000 |
390,000 |
390,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
สามารถระบายน้ำในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลากและมีปริมาณมากได้อย่ากรวดเร็ว |
กองช่าง 12 |
70 |
โครงการขุดลอกห้วยคำเม็กหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกห้วยคำเม็กหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอมากขึ้น |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
71 |
โครงการย้ายหอถังประปาหมู่บ้านพร้อมติดตั้งหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค |
ย้ายหอถังประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ,ตามแบบอบต.กำหนด |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 6 |
72 |
โครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดแยกแม่บุญมากหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อส่งเสริมการและรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน |
ติดตั้งกล้องวงจรปิดแยกแม่บุญมากหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น |
กองช่าง 1 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
73 |
โครงการวางท่อระบายน้ำลำห้วยคำเม็กหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อระบายน้ำในช่วงน้ำหลากในช่วยฤดูฝน |
วางท่อระบายน้ำลำห้วยคำเม็กหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ, ตามแบบอบต.กำหนด |
280,000 |
280,000 |
280,000 |
280,000 |
280,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ลดปัญหาน้ำท่วมขังและระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก |
กองช่าง 5 |
74 |
โครงการขุดลอกลำห้วยแสง(นาพ่อใหญ่เวช)หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกลำห้วยแสง(นาพ่อใหญ่เวช)หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ,ตามแบบอบต.กำหนด |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2. ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
75 |
โครงการก่อสร้างประปาหนองสี่เหลี่ยมคุ้มพ่อจำนง หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
ก่อสร้างประปาหนองสี่เหลี่ยมคุ้มพ่อจำนง หมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1 ก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
กองช่าง 2 |
76 |
โครงการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าซอยหลังวัดนาเจริญหมู่ที่ 8บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่งถึง |
ขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าส่องสว่างซอยหลังวัดนาเจริญหมู่ที่ 1 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 15 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
77 |
โครงการก่อสร้างพร้อมติดตั้งหอกระจายข่าวคุ้มหนองบัวแดงน้อยหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ชุมชนบ้าน ได้รับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวอย่างทั่วถึง |
ก่อสร้างพร้อมติดตั้งหอกระจายข่าวคุ้มหนองบัวแดงน้อยหมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากหอกระจายข่าวได้ทั่วถึงกัน |
กองช่าง 5 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
78 |
โครงการขุดลอกห้วยกกแต้หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภคและบริโภค |
ขุดลอกห้วยกกแต้หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง, |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์เพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 12 |
79 |
โครงการก่อสร้างท่อลอดห้วยกกแต้หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างท่อลอดห้วยกกแต้หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวแดง ,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
750,000 |
750,000 |
750,000 |
750,000 |
750,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์เพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 11 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
80 |
โครงการขุดลอกร่องอะลาง หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก
|
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกร่องอะลาง หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์เพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 10 |
81 |
โครงการติดตั้งหอกระจายข่าวภายในหมู่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อให้ชุมชนบ้าน ได้รับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวอย่างทั่วถึง |
ติดตั้งหอกระจายข่าวภายในหมู่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากหอกระจายข่าวได้ทั่วถึงกัน |
กองช่าง. 1 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
82 |
โครงการซ่อมแซมฝายห้วยข้าวสารตอนกลางหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ซ่อมแซมฝายห้วยข้าวสารตอนกลางหมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอ |
กองช่าง 4 |
83 |
โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นแบบ มข.2527หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างฝายน้ำล้นแบบ มข.2527หมู่ที่ 3 บ้านโนนบาก,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
750,000 |
750,000 |
750,000 |
750,000 |
750,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอ |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
84 |
โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือน หมู่ที่ 4 |
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าและเป็นการใช้พลังงานทดแทน |
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือน หมู่ที่ 4 |
120,000 |
120,000 |
120,000 |
120,000 |
120,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 75-80 |
มีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ทุกครัวเรือนและลดภาระค่าใช้จ่าย |
กองช่าง
|
85 |
โครงการขุดเจาะน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านห่องคำ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดเจาะน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านห่องคำ,ตามแบบที่อบต.กำหนด |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
1 เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอ |
กองช่าง
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
86 |
โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำหนองอะล่าง หมู่ที่ 4 บ้านห่องคำ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำหนองอะล่าง หมู่ที่ 4 บ้านห่องคำ |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 75-80 |
ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
กองช่าง
|
87 |
โครงการก่อสร้างประปาสามแยกข้างโรงเรียน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
ก่อสร้างประปาสามแยกข้างโรงเรียน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
1,500,000 |
1,500,000 |
1,500,000 |
1,500,000 |
1,500,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีน้ำใช้เพื่ออุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
กองช่าง 18 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
88 |
โครงการขุดลอกสระหนองดั่ง บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกสระหนองดั่ง บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4, ตามแบบอบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอ |
กองช่าง 19 |
89
|
โครงการขุดลอกสระหนองคำ บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกสระหนองคำ บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80ของ |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 15 |
90 |
โครงการขุดลอกลำห้วยแคนใหญ่บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกลำห้วยแคนใหญ่บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4,ตามแบบอบต.กำหนด |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
450,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนด ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอ |
กองช่าง 11 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
91
|
โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยแคนเงาะ (แบบ มข.) บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยแคนเงาะ (แบบ มข.) บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
600,000 |
600,000 |
600,000 |
600,000 |
600,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80ของ |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 3 |
92 |
โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยแคนเงาะ (แบบ มข.2527) บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยแคนเงาะ (แบบ มข.2527) บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4,ตามแบบอบต.กำหนด |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนด ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ที่เพียงพอ |
กองช่าง 3 |
93 |
โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้าน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าส่องสว่างได้อย่างทั่วถึง |
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้าน บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
จำนวนพื้นที่ที่ได้ขยายเขตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 สาย |
มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ |
กองช่าง 1 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
94 |
โครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายจากภาระค่าไฟฟ้าแพงและให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านห่องคำ หมู่ที่ 4 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ80 |
มีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการเกษตรและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้า |
กองช่าง 16 |
95 |
โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างเชื่อมระหว่างตำบล จำนวน 6 จุด |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าส่องสว่างได้อย่างทั่วถึง |
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างเชื่อมระหว่างตำบล จำนวน 6 จุด) หมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
3,000,000 |
3,000,000 |
3,000,000 |
3,000,000 |
3,000,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ-80 |
มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ |
กองช่าง 2 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
96 |
โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในศาลากลางบ้านหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าส่องสว่างได้อย่างทั่วถึง |
ติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในศาลากลางบ้านหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ |
กองช่าง 6 |
97 |
โครงการก่อสร้างระบบประปาหอถังภายในวัดโนนจิก หมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำในการอุปโภค-บริโภค |
ก่อสร้างระบบประปาหอถังภายในวัดโนนจิก หมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก,ตามแบบอบต.กำหนด |
130,000 |
130,000 |
130,000 |
130,000 |
130,000 |
เป็นไปตามแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100และประชาชนพึงพอใจร้อยละ80 |
มีน้ำใช้เพื่อทำในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
กองช่าง 1 |
98 |
โครงการก่อสร้างพร้อมติดตั้งหอกระจายข่าวหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
เพื่อให้ชุมชนบ้าน ได้รับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวอย่างทั่วถึง |
ก่อสร้างพร้อมติดตั้งหอกระจายข่าวหมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก, ตามแบบอบต.กำหนด |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
1 ก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนได้รับทราบข่าวสารได้ทั่วถึงกัน |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
99 |
โครงการขยายไฟฟ้าสายบ้านนายแสง บุญโสภา หมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าส่องสว่างได้อย่างทั่วถึง |
ขยายไฟฟ้าสายบ้านนายแสง บุญโสภา หมู่ที่ 5 บ้านโนนจิก |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ |
กองช่าง 7 |
100 |
โครงการปรับปรุงหอกระจายข่าว(สามแยกบ้านผญ)หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ชุมชนบ้าน ได้รับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวอย่างทั่วถึง |
ปรับปรุงหอกระจายข่าว(สามแยกบ้านผญ)หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1.เป็นไปแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากหอกระจายข่าวได้ทั่วถึงกัน |
กองช่าง 1 |
101 |
โครงการปรับปรุงระบบระบายน้ำภายหมู่บ้านสายกลางบ้านหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังสามารถระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก |
ปรับปรุงระบบระบายน้ำภายหมู่บ้านสายกลางบ้านหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย,ตามแบบอบต.กำหนด |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
1.เป็นไปแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ลดปัญหาน้ำท่วมขังสามารถระบายน้ำได้ดี |
กองช่าง 10 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
102 |
โครงการปรับปรุงระบบระบายน้ำภายหมู่บ้านสายกลางบ้านหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังสามารถระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก |
ปรับปรุงระบบระบายน้ำภายหมู่บ้านสายกลางบ้านหมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย,ตามแบบอบต.กำหนด |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
1.เป็นไปแบบที่อบต.กำหนดร้อยละ100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ลดปัญหาน้ำท่วมขังสามารถระบายน้ำได้ดี |
กองช่าง 10 |
103 |
โครงการจัดซื้อซัม เมอรส์ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
จัดซื้อซัมเมอรส์ 11 หมู่บ้าน |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80ของ |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
104 |
โครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนได้รับแสงสว่างที่เพียงพอและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
จัดซื้อพร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ75-80 |
ภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ |
กองช่าง 2 |
105 |
โครงการซ่อมแซมประปากลางบ้าน หมู่บ้าน 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค |
ซ่อมแซมประปากลางบ้าน หมู่บ้าน 6 บ้านห่องเตย |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
1.เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100
|
ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค |
กองช่าง |
106 |
โครงการขุดลอกฝายห้วยตำแยหมู่บ้าน 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกฝายห้วยตำแยหมู่บ้าน 6 บ้านห่องเตย,ตามแบบอบต.กำหนด |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
1 เป็นไป ตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 |
ประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
107 |
โครงการขุดลอกลำห้วยห่องเตยหมู่บ้าน 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกลำห้วยห่องเตยหมู่บ้าน 6 บ้านห่องเตย, ตามแบบอบต.กำหนด |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
1 เป็นไป ตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
กองช่าง |
108 |
โครงการขุดลอกลำห้วยโนนธาตุหมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกลำห้วยโนนธาตุหมู่ที่ 7 บ้านโชคชัยเป็นไป, ตามแบบอบต.กำหนด |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนด ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 14 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
109 |
โครงการก่อสร้างฝายแบบมข.2527 หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างฝายแบบมข.2527 หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย กว้าง 10 เมตร |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
550,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 12 |
110 |
โครงการวางท่อระบายน้ำภายในหมู่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
เพื่อระบายน้ำในช่วงน้ำหลากช่วงฤดูฝน |
วางท่อระบายน้ำภายในหมู่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย ,ตามแบบอบต.กำหนด |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนด ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ลดปัญหาน้ำท่วมขังภายในชุมชน |
กองช่าง 20 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
111
|
โครงการขยายเขตไฟฟ้าซอยหมาดับ(เชื่อมบ้านโชคชัยและบ้านสี่แยกโนนทอง) หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
เพื่อให้ประชาชนได้รับแสงสว่างที่เพียงพอและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
ขยายเขตไฟฟ้าซอยหมาดับ(เชื่อมบ้านโชคชัยและบ้านสี่แยกโนนทอง) หมู่ที่ 7 บ้านโชคชัย |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีความปลอดภัยและมีแสงสว่างที่เพียงพอ |
กองช่าง 17 |
112
|
โครงการซ่อมแซมฝายทดมะเกลือหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อเก็บกักน้ำใช้เพื่ออุปโภค-บริโภค |
ซ่อมแซมฝายทดมะเกลือหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ, ตามแบบอบต.กำหนด |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนด ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอ |
กองช่าง 15 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
113 |
โครงการก่อสร้างพร้อมติดตั้งหอกระจายข่าวหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ชุมชนบ้านนาเจริญ หมู่ที่ 8 ได้รับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวอย่างทั่วถึง |
ก่อสร้างพร้อมติดตั้งหอกระจายข่าวหมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ, ตามแบบอบต.กำหนด |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1 การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากหอกระจายข่าวได้ทั่วถึงกัน |
กองช่าง 2 |
114 |
โครงการก่อสร้างระบบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ หมู่ที่ 8 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างระบบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการเกษตร |
390,000 |
390,000 |
390,000 |
390,000 |
390,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75-80
|
มีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
115 |
โครงการวางท่อระบายน้ำวัดป่านาเจริญ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อระบายน้ำในช่วยน้ำหลากแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง |
ท่อระบายน้ำวัดป่านาเจริญ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ , ตามแบบอบต.กำหนด |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2.ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ลดปัญหาน้ำท่วมขังภายในชุมชน |
กองช่าง 3 |
116 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำ ซอยนาแม่พิกุล สีสิทธิ์ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรอย่างทั่วถึง |
ขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำ ซอยนาแม่พิกุล สีสิทธิ์ หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรอย่างทั่วถึง |
กองช่าง 3 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
117 |
โครงการขยายท่อลอดเหลี่ยมที่นานายหนา หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อเพิ่มช่องทางจราจรบริเวณท่อลอดเหลี่ยมและเก็บกักน้ำใช้ในการเกษตร |
ขยายท่อลอดเหลี่ยมที่นานายหนา หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ เจริญ ตามแบบอบต.กำหนด |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
1 การก่อสร้างฝายน้ำล้น เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 13 |
118 |
โครงการขุดลอกหนองขามป้อม (ธนาคารน้ำ) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกหนองขามป้อม (ธนาคารน้ำ) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
500,000 |
1 การก่อสร้างฝายน้ำล้น เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 12 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
119 |
โครงการขุดลอกลำห้วยตำแยบริเวณที่นานายหนา หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกลำห้วยตำแยบริเวณที่นานายหนา หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ ,ตามแบบอบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1 การก่อสร้างฝายน้ำล้น เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 10 |
120 |
โครงกรขยายเขตไฟฟ้าซอยข้างวัดป่านาเจริญ (ทิศตะวันตก) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
ขยายเขตไฟฟ้าซอยข้างวัดป่านาเจริญ (ทิศตะวันตก) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
จำนวนพื้นที่ที่ได้ขยายเขตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 สาย |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
กองช่าง 6 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
121 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้าซอยนานายดี ประทีบ ทอง – นานายเยาว์ บุญประโคม (5 ต้น) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
ขยายเขตไฟฟ้าซอยนานายดี ประทีบทอง – นานายเยาว์ บุญประโคม (5 ต้น) หมู่ที่ 8 บ้านนาเจริญ |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
กองช่าง 8 |
122 |
โครงการก่อสร้างคลองระบายน้ำถนนสายกลางบ้าน หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อระบายน้ำในช่วงน้ำหลากลดปัญหาน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน |
ก่อสร้างคลองระบายน้ำถนนสายกลางบ้าน หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
350,000 |
เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100
|
ลดปัญหาน้ำท่วมขังในหมู่บ้านภายในชุมชน |
กองช่าง 6
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
123 |
โครงการก่อสร้างฝายร่องใต้สี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างฝายร่องใต้สี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
480,000 |
480,000 |
480,000 |
480,000 |
480,000 |
1 การก่อสร้างฝายน้ำล้น เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 5 |
124
|
โครงการซ่อมแซมฝายห้วยแคนบ้านสี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ซ่อมแซมฝายห้วยแคนบ้านสี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
1 การก่อสร้าง เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 7 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
125 |
โครงการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านบ้านสี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านบ้านสี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
150,000
|
150,000
|
150,000
|
150,000
|
150,000
|
1 เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 2ระชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
|
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
150,000
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
126 |
โครงการขุดลอกร่องโจทย์ข้างวัดบ้านสี่แยก หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกร่องโจทย์ข้างวัดบ้านสี่แยก หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทองทอง ,ตามแบบอบต.กำหนด |
120,000 |
120,000 |
120,000 |
120,000 |
120,000 |
1 การก่อสร้าง เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 2ประชาชนพึงพอใจในไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
กองช่าง 11 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
127 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้า ซอยที่นานายถา อำประเสริฐ- บ้านโนนสวางหมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
ขยายเขตไฟฟ้า ซอยที่นานายถา อำประเสริฐ- บ้านโนนสวางหมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 75-80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
กองช่าง 8 |
128 |
โครงการขุดลอกร่องขอนแป้น หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกร่องขอนแป้น หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง ,ตามแบบอบต.กำหนด |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
เป็นไปตามแบบอบต.กำหนดร้อยละ 100 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง |
129 |
โครงการขุดลอกร่องไฮ หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกร่องไฮ หมู่ที่ 9บ้านสี่แยกโนนทอง ,ตามแบบอบต.กำหนด |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
การก่อสร้าง เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100 |
มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
130 |
โครงการขุดลอกร่องใต้ หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง
|
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกร่องใต้ หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง,ตามแบบอบต.กำหนด
|
320,000 |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
320,000 |
การก่อสร้าง เป็นไปตามแบบแปลน ร้อยละ 100
|
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 8 |
131 |
โครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณสี่แยก บ้านสี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9 |
เพื่อส่งเสริมการและรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน |
ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณสี่แยก บ้านสี่แยกโนนทอง หมู่ที่ 9
|
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น |
กองช่าง |
132 |
โครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือน หมู่ที่ 9 บ้านสี่แยกโนนทอง |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค |
ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือน |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
1,000,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้า |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
133 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้าซอยคุณพ่อกาสี รางสถิต หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ |
ขยายเขตไฟฟ้าซอยคุณพ่อกาสี รางสถิต หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
กองช่าง 10 |
134 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้า ซอยแม่ใบ มีกุล (4 ต้น) หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ |
ขยายเขตไฟฟ้า ซอยแม่ใบ มีกุล (4 ต้น) หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
กองช่าง 8 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
135 |
โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างถนนโค้งหน้าร้านกาแฟ หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อเพิ่มแสงสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ |
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างถนนโค้งหน้าร้านกาแฟ หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน
|
กองช่าง 6 |
136 |
โครงการจัดซื้อท่อประปา ซอยสุภานาดี หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อขยายระบบน้ำประปาภายในชุมชน |
จัดซื้อท่อประปา ซอยสุภานาดี หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
137 |
โครงการซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภคและบริโภค |
ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 10 ,ตามแบบอบต.กำหนด |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 1 |
138 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้า ซอยคุณพ่อศิลา รอดคำทุย หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ |
ขยายเขตไฟฟ้า ซอยคุณพ่อศิลา รอดคำทุย หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน
|
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
139 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้า ซอยประดู่ หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ |
ขยายเขตไฟฟ้า ซอยประดู่ หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน
|
กองช่าง 5 |
140 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้า ซอยนายสา โคตรแก้ว หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ |
ขยายเขตไฟฟ้า ซอยนายสา โคตรแก้ว หมู่ที่ 10 บ้านนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน
|
กองช่าง 3 |
141 |
โครงการก่อสร้างประปา ซอยทุ่งเจริญ หมู่ที่ 10 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภคและบริโภค |
ก่อสร้างประปา ซอยทุ่งเจริญ |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
142 |
โครงการก่อสร้างระบบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ |
ก่อสร้างระบบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80ของ |
มีการติดตั้งระบบโซล่าเซล ประปา |
กองช่าง 1 |
143 |
โครงการขยายเขตไฟฟ้าซอยบ้านเทิดไท้ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ |
ขยายเขตไฟฟ้าซอยบ้านเทิดไท้ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนและการเกษตรทั่วถึงกัน |
กองช่าง 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงาน...อุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
144
|
โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อเพิ่มแสงสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ |
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีแสงสว่างภายในชุมชนและสถานที่สาธารณะ
|
กองช่าง 7 |
145 |
โครงการขุดลอกลำห้วยไผ่ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ |
ขุดลอกลำห้วยไผ่ หมู่ที่ 11 บ้านศรีนวลพัฒนา,ตามแบบอบต.กำหนด |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
400,000 |
1.เป็นไปตามแบบฯ ร้อยละ 100 2.ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง 9 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา:งานก่อสร้าง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
146 |
โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะภายในหมู่บ้าน (พลังงานแสงอาทิตย์) หมู่ที่ 11 |
เพื่อเพิ่มแสงสว่างให้กับชุมชนและที่สาธารณะ |
ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะภายในหมู่บ้าน (พลังงานแสงอาทิตย์) หมู่ที่ 11 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีแสงสว่างภายในชุมชนและที่สาธารณะ |
กองช่าง
|
147 |
โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นลำห้วยแคนเงาะตอนล่าง บ้านโนนจิก หมู่ที่ 5 |
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภคและบริโภค |
ก่อสร้างฝายน้ำล้นลำห้วยแคนเงาะตอนล่าง แบบ มข |
800,000 |
800,000 |
800,000 |
800,000 |
800,000 |
เป็นไปตามแบบร้อยละ 100 |
ประชาชนมีน้ำในการอุปโภคอย่างเพียงพอตลอดปี |
กองช่าง
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 แผนงานเคหะและชุมชน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
148 |
อุดหนุนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม ตามโครงการขยายเขตการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ภายในตำบลนาเจริญ |
เพื่อขยายเขตการจำหน่วยกระแสไฟฟ้า ภายในตำบลนาเจริญ |
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม ตามโครงการขยายเขตการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ภายในตำบลนาเจริญ |
3,000,000 |
3,000,000 |
3,000,000 |
3,000,000 |
3,000,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีแสงสว่างภายในชุมชนและที่สาธารณะ |
กองช่าง
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
2.1 แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
149 |
โครงการฝึกอบรมอาชีพ |
เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพภายในชุมชน ตำบลนาเจริญ |
ส่งเสริมอาชีพประชาชนบ้านหนองบัวแดง หรือประชาชนทั่วไป |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80 |
สามารถพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครองครัว |
สำนักปลัด 10 |
150 |
โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพเลี้ยงวัว |
เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพภายในชุมชน |
ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัวให้กับประชาขนตำบลนาเจริญ |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80 |
สามารถพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครองครัว |
สำนักปลัด 13 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
2.1 แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
151 |
โครงการส่งเสริมอาชีพภายในชุมชน |
เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพภายในชุมชน |
ประชาขนทั่วไป |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80 |
สามารถพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครองครัว |
สำนักปลัด 6 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการระเบียบชุนชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.1 แผนงาน การรักษาความสงบภายใน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
152 |
โครงการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน |
เพื่อเยาวชนมีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลยาเสพติด |
จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดภายในตำบลนาเจริญ |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
ประชาชนมีพึงพอใจร้อยละ 50 |
เกิดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน |
สำนักปลัด
|
153 |
โครงการจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาล |
เพื่อให้ประชาชนผู้สัญจรไปมาขับขี่ด้วยความระมัดระวัง |
จัดกิจกรรมอบรมและศึกษาดูงานและสงกรานต์ |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
ประชาชนมีพึงพอใจร้อยละ 50 |
สามารถบริการประชาชนช่วงเทศกาล
|
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก.ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการระเบียบชุนชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.1 แผนงาน การรักษาความสงบภายใน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
154 |
โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอาสามัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) . |
เพื่อให้ อปพร.ได้ศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ |
จัดกิจกรรมอบรมและศึกษาดูงานให้กับ อปพร.ตำบลนาเจริญ |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
1 ครั้ง/ปี |
อปพร.ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ |
สำนักปลัด
|
155 |
โครงการสนับสนุนกิจการอปพร |
เพื่อเป็นขวัญกำลังใจอปพร. |
จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องแต่งกายอปพร. |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
1 ครั้ง/ปี |
อปพร.ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ |
สำนักปลัด |
156 |
โครงการจัดซื้อวัสดุเกี่ยวกับงานดับเพลิง |
โครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับงานดับเพลิง |
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับงานดับเพลิง |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
2 ครั้ง/ปี |
งานป้องกันฯมีประสิทธิภาพ |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการระเบียบชุนชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.1 แผนงาน การรักษาความสงบภายใน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
157 |
โครงการจุดบริการประชาชน |
เพื่อให้ประชาชนผู้สัญจรไปมาขับขี่ด้วยความระมัดระวัง |
จัดตั้งจุดบริการประชาชนเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์หรือวันหยุดเทศกาลสำคัญ |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 50 |
ประชาชนมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก |
สำนักปลัด
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการระเบียบชุนชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.2 แผนงานการศึกษา
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
158 |
อบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์ |
-เพื่อเสริสร้างจิตสำนึกความตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนน |
อบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์ |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ศพด.5 แห่ง |
เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้รถจักรยานยนต์ |
กองการศึกษา
|
159 |
โครงการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันอุบัติภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันอุบัติภัยใน ศพด. |
อบรมให้ความรู้ในการป้องกันอุบัติภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ศพด.5 แห่ง |
ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความใจในการป้องกันอุบัติภัย |
กองการศึกษา |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก.ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการระเบียบชุนชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
3.ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.2 แผนงานการศึกษา
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
160 |
ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจกฎ จราจร |
เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎจราจร |
ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจกฎจราจร |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
เด็ก เยาวชนและ ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาเจริญ |
เด็ก เยาวชนและประชาชนมีความรู้เรื่องกฎจราจร ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน |
กองการศึกษา |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4.1 แผนงานบริหารทั่วไป
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
161 |
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ คณะผู้บริหารสมาชิกสภาฯ พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างและผู้นำชุมชน |
เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและนำมาใช้พัฒนาองค์กรและชุมชน |
คณะผู้บริหารสมาชิกสภาฯ พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างและผู้นำชุมชน |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
300,000 |
1 ครั้ง/ปี |
บุคลากรมีความรู้ ทักษะในการทำงานและพัฒนาองค์กรพัฒนาชุมชน |
สำนักปลัด |
162 |
โครงการประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของอบต.นาเจริญ |
เพื่อนำข้อมูลมารวบรวมวิเคราะห์พัฒนาระบบการให้บริการประชาชน |
จ้างเหมาสำรวจความพึงพอใจต่อการให้บริการของอบต.นาเจริญ |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
1 ครั้ง/ปี |
ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4.2 แผนงานสาธารณสุข
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
163 |
โครงการฝึกอบรมเพิ่มเสริมสร้างความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน |
เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขกรณีฉุกเฉินให้กับประชาชน |
เพิ่มทักษะความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
เพื่อบริการผู้ป่วยในยามฉุกเฉิน |
สำนักปลัด |
164 |
โครงฝึกอบรมรณรงค์ป้องกันและระงับโรคติดต่อต่างๆ |
เพื่อให้ประชาชนเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดโรคติดต่อ |
รณรงค์ป้องกันและระงับโรคระบาดโรคติดต่อต่างๆ |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
10,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
ประชาชนปลอดภัยจากโรคระบาดต่างๆ |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก.ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4.2 แผนงานสาธารณสุข
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
165 |
โครงการจัดหาวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
|
เพื่อให้มีวัสดุและเวชภัณฑ์ดูแลสุขภาพราษฎรตำบลนาเจริญ |
จัดหาวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในตำบลนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ดูแลราษฎร |
สำนักปลัด |
166 |
อุดหนุนสาธารณสุขมูลฐาน |
อุดหนุนสาธารณสุขมูลฐาน ทุกหมู่บ้าน |
อุดหนุนสาธารณสุขมูลฐาน ทุกหมู่บ้าน |
110,000 |
110,000 |
110,000 |
110,000 |
110,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
พื้นทีสาธารณะและพื้นที่ต่างๆในตำบลสะอาดน่าอยู่ |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก.ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4.2 แผนงานสาธารณสุข
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
167 |
โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก |
ป้องกันโรคไข้เลือดออก |
ป้องกันโรคไข้เลือดออกในตำบลนาเจริญ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
มีครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ดูแลราษฎร |
สำนักปลัด |
168 |
โครงการฝึกอบรมและรณรงค์เพื่อควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า |
ควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า |
ควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในตำบลนาเจริญ |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
สามารถควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า |
ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าในตำบลนาเจริญลดลง |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 6การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 7 การจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4.2 แผนงานสาธารณสุข(งานสาธารณสุขอื่นฯ)
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2561 (บาท) |
2562 (บาท) |
2563 (บาท) |
2564 (บาท) |
2565 (บาท) |
|||||||
169
|
โครงการป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน ตำบลนาเจริญ |
เพื่อป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน |
ป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน ตำบลนาเจริญ |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน ได้ |
สำนักปลัด 1
|
170
|
โครงการป้องกันโรคโควิค 2019 หรือโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ ภายในตำบลนาเจริญ |
เพื่อป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
ป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ ภายในตำบลนาเจริญ |
250,000 |
250,000 |
250,000 |
250,000 |
250,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ ในตำบลนาเจริญ |
สำนักปลัด 12 |
171 |
โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในชุมชน หมู่ที่ 11 |
เพื่อป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน |
รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในชุมชน |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน ได้ |
สำนักปลัด
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
5.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5.1 แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|
||||||
172 |
โครงการส่งเสริมศูนย์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี |
ส่งเสริมศูนย์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านห่องเตย |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
ประชาชนพึงพอใจร้อยละ50-80 |
ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพร่างการแข็งแรง |
สำนักปลัด 5 |
173 |
โครงการจัดประชุมระดมความคิดการจัดทำแผนระดับหมู่บ้านและตำบล |
เพื่อเป็นการทบทวนแผนพัฒนาอบต.ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอโครงการ |
จัดประชาคมหมู่บ้านจำนวน 11 หมู่บ้าน และจัดประชุมประชาคมระดับตำบล |
15,000 |
15,000 |
15,000 |
15,000 |
15,000 |
11 หมู่บ้าน |
ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอโครงการ |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : การพัฒนาคุณภาพชีวิต
5.2 แผนงาน : ศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
174 |
โครงการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์สถานศึกษาในสังกัด อบต.นาเจริญ |
เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้งสี่ด้านเหมาะสมตามวัย |
แข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์สถานศึกษาในสังกัดอบต.นาเจริญ |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
50,000 |
ศพด.ทั้ง 5 แห่ง |
เด็กมีพัฒนาการ เหมาะสมตามวัย |
กองการศึกษา |
175
|
โครงการส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น |
เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น |
ส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 75-80 |
ประชาชนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคีและสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น |
กองการศึกษาฯ 4 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : การพัฒนาคุณภาพชีวิต
5.2 แผนงาน : ศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
176 |
ส่งเสริมและถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
-เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เด็กและเยาวชน |
ส่งเสริมและถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลนาเจริญ |
เด็กละเยาวชนได้ร่วมอนุรักษ์และสืบสานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น |
กองการศึกษา |
177 |
โครงการแข่งขันกีฬาเด็ก เยาวชนและประชาชนต้านยาเสพติด
|
เพื่อเยาวชน ประชาชนทั่วไปมีสุขภาพแข็งแรง |
จัดงานกิจกรรมงานกีฬาปีละ 1 ครั้ง |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
200,000 |
1 ครั้ง/ปี |
พนักงานเยาวชนมีสุขภาพแข็งแรงและสร้างความสามัคคีให้กับชุมชน |
กองการศึกษา |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : การพัฒนาคุณภาพชีวิต
5.2 แผนงาน : ศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
178 |
โครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์และวันผุ้สูงอายุ |
เพื่อส่งเสริมจัดงานประเพณีสงกราต์และวันผุ้สูงอายุ |
จัดกิจกรรมจัดงานประเพณีสงกราต์และวันผุ้สูงอายุ |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
100,000 |
ผู้สูงอายุในตำบลนาเจริญ |
สถาบันครอบครัวอบอุ่น |
กองการศึกษา |
179 |
โครงการจัดงานประเพณีท้องถิ่น
|
เพื่อสือสานขนบธรมมเนียมประเพณีท้องถิ่น |
จัดงานประเพณีท้องถิ่นภายในตำบลฯ |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
40,000 |
จัดงานประเพณีท้องถิ่น |
จัดงานประเพณีท้องถิ่นภายในตำบลฯ |
กองการศึกษา |
180 |
โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก |
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย |
เด็กนักเรียนภายในเขตตำบลนาเจริญมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
80,000 |
เด็กภายในตำบลนาเจริญ |
เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะกับวัย |
กองการศึกษา |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : การพัฒนาคุณภาพชีวิต
5.2 แผนงาน : งบกลาง
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
181 |
โครงการจัดสรรเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการผู้ติดเชื้อเอดส์ |
เพื่อให้ผู้สูงอายุ และผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า |
จัดสรรเงินเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ,ผู้พิการผู้ติดเชื้อเอดส์ตำบลนาเจริญ |
10,000,000 |
10,000,000 |
10,000,000 |
10,000,000 |
10,000,000 |
11 หมู่บ้าน |
ผู้สูงอายุและผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
5.3 แผนงานสาธารณสุข
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
182 |
โครงการป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชนตำบลนาเจริญ |
เพื่อป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน |
ป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน ได้ |
สำนักปลัด 1
|
183 |
โครงการป้องกันโรคโควิค 2019 หรือโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ตำบลนาเจริญ |
เพื่อป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
ป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ ในตำบลนาเจริญ |
สำนักปลัด 12 |
184 |
โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนตำบลนาเจริญ |
เพื่อป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน |
รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในชุมชน |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
25,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุนชน ได้ |
สำนักปลัด |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาล
6.1 แผนงานบริหารทั่วไป
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
185 |
อุดหนุนโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข |
เพื่อเป็นเงินอุดหนุนให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านจัดทำโครงการตามพระราชดำริด้านสาธารณสุข |
อุดหนุนดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
220,000 |
ได้รับเงินอุดหนุนครบ 11 หมู่บ้าน |
เป็นไปตามโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขที่ได้วางไว้ตามวัตถุประสงค์ |
สำปลัด |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาล
6.2 แผนงานการศึกษา:งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
186 |
โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษา |
เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษา |
สำหรับ ศพด.ทั้ง5 แห่ง 1.ค่าอาหารกลางวัน 2.ค่าจัดการเรียนการสอน 3.ค่าหนังสือเรียน,ค่าอุปกรณ์การเรียน,ค่าเครื่องแบบนักเรียน,ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน |
4,200,000 |
4,500,000 |
4,700,000 |
5,000,000 |
5,200,000 |
1 ครั้ง/ปี |
นักเรียนในเขต อบต.นาเจริญ ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษาครบทุกคน |
กองการศึกษา
|
187 |
อาหารเสริม (นม) |
เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) สำหรับเด็กนักเรียนในเขตอบต.นาเจริญ |
จัดซื้อหารอาหารเสริม (นม) |
2,000,000 |
3,000,000 |
4,000,000 |
5,000,000 |
6,000,000 |
เด็กนักเรียนในเขต อบต.เจริญ |
นักเรียนในเขต อบต.นาเจริญได้รับอาหารเสริม (นม)และสารอาหารอย่างเพียงพอ |
กองการศึกษา |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาล
6.1 แผนงานการศึกษา:งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
188 |
โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษา |
เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษา |
สำหรับ ศพด.ทั้ง5 แห่ง 1.ค่าอาหารกลางวัน 2.ค่าจัดการเรียนการสอน 3.ค่าหนังสือเรียน,ค่าอุปกรณ์การเรียน,ค่าเครื่องแบบนักเรียน,ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน |
4,000,000 |
4,000,000 |
4,000,000 |
4,000,000 |
4,000,000 |
1 ครั้ง/ปี |
นักเรียนในเขต อบต.นาเจริญ ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษาครบทุกคน |
กองการศึกษา
|
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาล
6.1 แผนงานการศึกษา:งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
189 |
โครงการจัดนิทรรศการผลงานทางวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.นาเจริญ |
เพื่อผลงานทางวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.นาเจริญและให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย |
เด็กนักเรียนงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.นาเจริญ ผลงามาแสดงในวันจัดจัดนิทรรศการ |
15,000 |
15,000 |
15,000 |
15,000 |
15,000 |
1 ครั้ง/ปี |
เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.นาเจริญ |
กองการศึกษา
|
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวนโยบายของรัฐบาล
6.2 แผนงาน : สาธารณสุข
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2561 (บาท) |
2562 (บาท) |
2563 (บาท) |
2564 (บาท) |
2565 (บาท) |
|||||||
190 |
โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาตราจารย์ ดร.สมเด็จพระน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัติยราชนารี |
-เพื่อให้สัตว์ปลอดโรคและคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า และเป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจข้อมูลจำนวนสัตว์และขึ้นทะเบียนสัตว์ |
ส่งเสริมและถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
60,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
สามารถป้องกันและระงับโรคพิษสุนัขบ้า |
กองการศึกษา |
แบบ ผ.02 |
แบบ ผ.02 |
บัญชีโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ก. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ : ยุทธศาสตร์ที่ 6การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 7 การจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7.ยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม
7.1 แผนงานบริหารงานทั่วไป
ที่ |
โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
งบประมาณ |
ตัวชี้วัด (KPI) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
|||||||
191 |
โครงการอบรมและรณรงค์ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชน |
เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน |
รณรงค์ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ต่างๆภายในตำบล |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
30,000 |
ประชาชนมีความพึงพอใจร้อยละ 80 |
พื้นทีสาธารณะและพื้นที่ต่างๆในตำบลสะอาดน่าอยู่ |
สำนักปลัด |
192 |
โครงการฝึกอบรมและรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอย |
เพื่อให้ประชาชนในชุมชมมีความรู้ในเรื่องการกำจัดขยะ |
ฝึกอบรมประชาชนเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการกำจัดขยะ |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
มีระบบกำจัดขยะที่ดีของตำบล |
ระบบกำจัดขยะของอบต.มีประสิทธิภาพ |
สำนักปลัด |
แบบ ผ.03 |
บัญชีสรุปโครงการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2567)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ที่ |
แผนงาน |
หมวด |
ประเภท |
เป้าหมาย (ผลผลิตของครุภัณฑ์) |
งบประมาณ |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
||||
2566 (บาท) |
2567 (บาท) |
2568 (บาท) |
2569 (บาท) |
2570 (บาท) |
||||||
1 |
การเกษตร |
ค่าครุภัณฑ์ |
ครุภัณฑ์การเกษตร |
ซัมเมิร์สสูบน้ำ (Submerse) |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
20,000 |
กองคลัง
|
2 |
บริหารงานทั่วไป |
ค่าครุภัณฑ์ |
ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว |
เครื่องกรองน้ำ |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
150,000 |
สำนักปลัด (บ้านห่องเตย) |
3 |
บริหารงานทั่วไป |
ค่าครุภัณฑ์ |
ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว |
เครื่องกรองน้ำหยอดเหรียญ |
35,000 |
35,000 |
35,000 |
35,000 |
35,000 |
สำนักปลัด (บ้านห่องคำ) |
ส่วนที่ 4 การติดตามและประเมินผล
|
4.1การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผลสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ 29 กำหนดให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทางวิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผน รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมทั้งประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบในที่เปิดเผยภายในสิบห้าวันนับแต่วันรายงานผลและเสนอความเห็นดังกล่าว และต้องปิดประกาศไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นการติดตามและประเมินผลความสอดคล้องและความสำเร็จของแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการตามแผนดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับพันธกิจซึ่งสามารถนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือไม่และโครงการพัฒนานั้นประสบความสำเร็จตามกรอบการประเมินผลระดับใด
4.2 การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีการติดตามและประเมินผลโครงการขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่นเพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น จะต้องดำเนินการให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศใช้งบประมาณรายจ่าย รายละเอียดแนวทางการพิจารณาตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๑๐.๓/ว 7467 ลงวันที่ ๑4 ธันวาคม ๒๕๖3 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล
เป็นการแสดงถึงวิธีการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาและโครงการพัฒนาตามแผนพัฒนา โดยการกำหนดรูปแบบที่จะใช้ในการติดตามและประเมินผลเพื่อตรวจสอบว่า การดำเนินกิจกรรมตามโครงการอยู่ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่ และผลของการดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้หรือไม่ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลตำบลปากคาดใช้แบบรายงานแบบที่ 1 แบบตามรูปแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดเป็นแนวทางไว้ คือ
- แบบประเมินผลแผนพัฒนาใช้แบบรายงาน
แบบที่ 1 การประเมินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- แบบติดตามแผนพัฒนาใช้แบบรายงาน
แบบที่ 2 แบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- แบบประเมินผลแผนพัฒนาใช้แบบรายงาน 3 แบบ คือ
3.1 แบบประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
3.2 แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์กร อปท.ในภาพรวม
3.3 แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์กร อปท. ในแต่ละยุทธศาสตร์
คำชี้แจง : แบบที่ 1 เป็นแบบประเมินตนเองในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะทำการประเมินและรายงานทุก ๆ ครั้ง หลังจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์แล้ว
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ประเด็นการประเมิน |
มี การดำเนินงาน |
ไม่มี การดำเนินงาน |
ส่วนที่ 1 คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
1. มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
3. มีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ |
|
|
4. มีการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
5. มีการจัดประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
6. มีคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประชาคมท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา |
|
|
ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
7. มีการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูล |
|
|
8. มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน |
|
|
9. มีการวิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่น (swot) เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
10. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น |
|
|
11. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด |
|
|
12. มีการกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
|
|
13. มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
14. มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา |
|
|
15. มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด |
|
|
16. มีการอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา |
|
|
17. มีการจัดทำบัญชีกลุ่มโครงการในแผนยุทธศาสตร์ |
|
|
18. มีการกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ |
|
การวัด และการนำเสนอผล
- ความถี่ในการวัด : หลังจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนเสร็จและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
- เกณฑ์การพิจารณา : พิจารณาจาก มี/ ไม่มี การดำเนินการนั้น
การติดตามและประเมินผลโครงการ แบบแนวทางการพิจารณาคุณภาพแผนยุทธศาสตร์และ
แนวทางการพิจารณาการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
เพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเด็นการพิจารณา |
คะแนน |
๑. ข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
๒๐ |
๒. การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพ |
๒๐ |
๓. ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย |
๖๐ |
๓.๑ ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
(๑๐) |
๓.๒ ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด |
(๑๐) |
๓.๓ ยุทธศาสตร์จังหวัด |
(๑๐) |
๓.๔ วิสัยทัศน์ |
(๕) |
๓.๕ กลยุทธ์ |
(๕) |
๓.๖ เป้าประสงค์ของแต่ละประเด็นกลยุทธ์ |
(๕) |
๓.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์ |
(๕) |
๓.๘ แผนงาน |
(๕) |
๓.๙ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม |
(๕) |
รวมคะแนน |
๑๐๐ |
แนวทางเบื้องต้นในการให้คะแนนแนวทางการพิจารณาการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
เพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเด็นการพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
๑. ข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ (๑) ข้อมูลเกี่ยวกับด้านกายภาพ เช่น ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะของที่ดิน ลักษณะของแหล่งน้ำ ลักษณะของป่าไม้ ฯลฯ ด้านการเมือง/การปกครอง เช่น เขตการปกครองการเลือกตั้ง ฯลฯ |
๒๐ (๓) |
|
(๒) ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการเมือง/การปกครอง เช่น เขตการปกครอง การเลือกตั้ง ฯลฯ ประชากร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร และช่วงอายุและจำนวนประชากร ฯลฯ |
(๒) |
|
|
(๓) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางสังคม เช่น การศึกษา สาธารณสุข อาชญากรรม ยาเสพติด การสังคมสงค์เคราะห์ |
(๒) |
|
|
(๔) ข้อมูลเกี่ยวกับระบบบริหารพื้นฐาน เช่น การคมนาคมขนส่ง การไฟฟ้า การประปา โทรศัพท์ ฯลฯ |
(๒) |
|
|
(๕) ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร การประมง การประศุสัตว์ การบริการ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพแรงงาน ฯลฯ |
(๒) |
|
|
(๖) ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม เช่น การนับถือศาสนาประเพณี และงานประจำปี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ฯลฯ และอื่นๆ |
(๒) |
|
|
(๗) ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ ป่าไม้ ภูเขา คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ |
(๒) |
|
|
(๘) การสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือการใช้ข้อมูล จปฐ. |
(๒) |
|
|
(๙) การประชุมประชาคมท้องถิ่น รูปแบบ วิธีการ และการดำเนินการประชุมประชาคมท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมแก้ไขปัญหา ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
(๓) |
|
/ประเด็น...
ประเด็น การพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
๒. การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพ
|
ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ (๑) การวิเคราะห์ที่ควบคลุมความเชื่อมโยง ความสอดคล้องยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ Thailand ๔.๐ |
๒๐ (๕) |
|
(2)การวิเคราะห์การใช้ผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะและการบังคับใช้ผลของการบังคับใช้ สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นต่อการพัฒนาท้องถิ่น |
(๓) |
|
|
(๓) การวิเคราะห์ทางสังคม เช่น ด้านแรงงาน การศึกษา สาธารณสุข ความยากจน อาชญากรรม ปัญหายาเสพติด เทคโนโลยี จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น |
(๓) |
|
|
(๔) การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านรายได้ครัวเรือน การส่งเสริมอาชีพ กลุ่มอาชีพ กลุ่มทางสังคม พัฒนาอาชีพและกลุ่มต่างๆ ภาพทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ทั่วไป เป็นต้น |
(๓) |
|
|
(๕) การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว ธรรมชาติต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ กระบวนการหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ประดิษฐ์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา |
(๓) |
|
|
(6)ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น ด้วยเทคนิค SWOT Analysis ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานได้แก่ S-Strengit (จุดแข็ง) W-Weakness (จุดอ่อน) O-Opportunity (โอกาส) และT-Therat (อุปสรรค) |
(๓) |
|
|
๓. ยุทธศาสตร์ ๓.๑ ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๓.๒ ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
๓.๓ ยุทธศาสตร์จังหวัด
|
ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ประเด็นปัญหาการพัฒนาและแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเชื่อมโยงหลักประชารัฐแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ Thailand ๔.๐ |
๖๐ (๑๐) |
|
สอดคล้องและเชื่อมโยงกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น และยุทธศาสตร์จังหวัด และเชื่อมโยงหลักประชารัฐแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ Thailand ๔.๐ |
(๑๐) |
|
|
สอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์พัฒนาภาค แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบาย/ยุทธศาสตร์ คสช. และนโยบายรัฐบาล หลักประชารัฐ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และThailand ๔.๐ |
(๑๐) |
|
/ประเด็น...
ประเด็นการพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนน ที่ได้ |
๓.๔ วิสัยทัศน์
๓.๕ กลยุทธ์
๓.๖ เป้าประสงค์ของแต่ละประเด็นกลยุทธ์ ๓.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์(Positioning) ๓.๘ แผนงาน
๓.๙ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม |
วิสัยทัศน์ ซึ่งมีลักษณะแสดงสถานภาพที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการจะเป็นหรือบรรลุถึงอนาคตอย่างชัดเจน สอดคล้องกับโอกาสและศักยภาพที่เป็นลักษณะเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสัมพันธ์กับโครงการพัฒนา |
(๕) |
|
แสดงให้เห็นช่องทาง วิธีการ ภารกิจหรือสิ่งที่ต้องทำตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ หรือแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนในสิ่งที่จะดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น |
(๕) |
|
|
เป้าประสงค์ของแต่ละประเด็นกลยุทธ์มีความสอดคล้องและสนับสนุนต่อกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้น มุ่งหมายสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ชัดเจน
|
(๕) |
|
|
ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากศักยภาพของพื้นที่จริง ที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จทางยุทธศาสตร์ |
(๕) |
|
|
แผนงานหรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคต กำหนดจุดมุ่งหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือแผนงานที่เกิดจากเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ จุดยืนทางยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความชัดเจน นำไปสู่การทำโครงการพัฒนาท้องถิ่นในแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยระบุแผนงานและความเชื่อมโยงดังกล่าว |
(๕) |
|
|
ความเชื่อมโยงองค์รวมที่นำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดผลผลิต/โครงการจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ Thailand ๔.๐ แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด /แผนพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด และยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
(๕) |
|
|
รวมคะแนน |
๑๐๐ |
|
๔.๒ การติดตาม...
๔.๒ การติดตามและประเมินผลโครงการ
|
ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีการติดตามและประเมินผลโครงการขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่นเพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น จะต้องดำเนินการให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศใช้งบประมาณรายจ่าย รายละเอียดแนวทางการพิจารณาหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๑๐.๓/ว 7467 ลงวันที่ ๑4 ธันวาคม ๒๕๖3 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
แนวทางการพิจารณาการติดตามและประเมินผลโครงการ
เพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเด็นการพิจารณา |
คะแนน |
๑. การสรุปสถานการณ์การพิจารณา |
๑๐ |
๒. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ |
๑๐ |
๓. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ |
๑๐ |
๔. แผนงานและยุทธศาสตร์การพิจารณา |
๑๐ |
๕. โครงการพัฒนา ประกอบด้วย |
๖๐ |
๕.๑ ความชัดเจนของชื่อโครงการ |
(๕) |
๕.๒ กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ |
(๕) |
๕.๓ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความชัดเจนนำไปสู่การตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง |
(๕) |
๕.๔ โครงการมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี |
(๕) |
๕.๕ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ |
(๕) |
๕.๖ โครงการมีความสอดคล้องกับ Thailand ๔.๐ |
(๕) |
๕.๗ โครงการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด |
(๕) |
๕.๘ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนหรือการเสริมสร้างให้ประเทศชาติมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้หลักประชารัฐ |
(๕) |
๕.๙ งบประมาณ มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) |
(๕) |
๕.๑๐ มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณ |
(๕) |
๕.๑๑ มีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลคาดว่าที่จะได้รับ |
(๕) |
๕.๑๒ ผลที่คาดว่าจะได้รับ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ |
(๕) |
รวมคะแนน |
๑๐๐ |
แนวทาง...
แนวทางเบื้องต้นในการให้คะแนนแนวทางการพิจารณาการติดตามและประเมินผลโครงการ
เพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเด็น การพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
๑. การสรุปสถานการณ์การพัฒนา |
เป็นการวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand และ Trend ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ, ด้านสังคม, ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) |
๑๐ |
|
๒. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ |
๑) การควบคุมที่มีตัวเลขต่างๆ เพื่อนำมาใช้วัดผลในเชิงปริมาณ เช่น การวัดจำนวนโครงการ กิจกรรม งานต่างๆ ก็คือผลผลิตนั่งเองว่าเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้หรือไม่จำนวนที่ดำเนินการจริงตามที่ได้กำหนดไว้เท่าไร จำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการได้มีจำนวนเท่าไหร่ สามารถอธิบายได้ตามหลักประสิทธิภาพ (Effciency) ของการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ ๒) วิเคราะห์ผลกระทบ/สิ่งที่กระทบ (Impact) โครงการที่ดำเนินการในเชิงปริมาณ (Qualitative) |
๑๐ |
|
๓. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ |
๑) การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพคือการนำเอาเทคนิคๆ มาใช้เพื่อวัดค่าภารกิจ โครงการ กิจกรรม งานต่างๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่นั้นๆ ตรงต่อความต้องการของประชาชนหรือไม่และเป็นไปตามอำนาจหน้าที่หรือไม่ ประชาชนพึ่งพอใจหรือไม่ สิ่งของ วัสดุ ครุภัณฑ์ การดำเนินการต่างๆ มีสภาพหรือลักษณะถูกต้อง คงทน ถาวร สามารถใช้การได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผลการปฏิบัติราชการตามที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงาน ๒) วิเคราะห์ผลกระทบ/สิ่งที่กระทบ (Impact) โครงการที่ดำเนินการในเชิงคุณภาพ (Qualitative) |
๑๐ |
|
๔. แผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนา |
๑) วิเคราะห์แผนงาน งาน ที่เกิดจากด้านต่างๆ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมิติต่างๆ จนนำไปสู่การจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้ SWOT Analysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand/ Trend หรือหลักการบูรณาการ (Integration) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพิ้นที่ติดต่อกัน ๒) วิเคราะห์แผนงาน งาน ที่เกิดจากด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจน หลักประชารัฐ |
๑๐ |
|
ประเด็น การพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
๕. โครงการพัฒนา ๕.๑ ความชัดเจนของชื่อโครงการ
๕.๒ กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ
๕.๓ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความชัดเจนนำไปสู่การตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง
๕.๔ โครงการมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี
๕.๕ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
|
ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ ชื่อโครงการมีความชัดเจน มุ่งไปเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจะพัฒนาอะไรในอนาคต |
๖๐ (๕) |
|
มีวัตถุประสงค์ชัดเจน (clear objective) โครงการต้องกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความเป็นมาของโครงการ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเป็นไปได้ชัดเจน มีลักษณะเฉพาะเจาะจง |
(๕) |
|
|
สภาพที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคตเป็นทิศทางที่ต้องไปให้ถึงเป้าหมายต้องชัดเจน สามารถระบุจำนวนเท่าไร กลุ่มเป้าหมายคืออะไร มีผลผลิตอย่างไร กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงาน และระยะเวลาดำเนินงานอธิบายให้ชัดเจนว่าโครงการนี้จะทำที่ไหน เริ่มต้นในช่วงเวลาใดและจบลงเมื่อไร ใครคือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ หากกลุ่มเป้าหมายมีหลายกลุ่ม ให้บอกชัดลงไปว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายหลายหลัก ใครคือกลุ่มเป้าหมายรอง |
(๕) |
|
|
โครงการสอดคล้องกับ (๑) ความมั่นคง (๒) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพคน (๔) การสร้างโอกาสความเสนอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (๕) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๖) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน |
(๕) |
|
|
โครงการมีความสอดคล้องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ โดย (๑) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (๒) ยึดคนเป็นศูนย์กลางพัฒนา (๓) ยึดวิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๔) ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทย ๒๕๗๙ (๕) ยึดหลักการนำไปสู่ปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน ๕ ปีที่ต่อยอดไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว ภายใต้แนวทางการพัฒนา (๑) การยกระดับศักยภาพการแข่งขันและการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง (๒) การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัยและการปฏิรูประบบเพื่อสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ (๓) การลดความเลื่อมล้ำทางสังคม (๔) การรองรับการเชื่อมโยงภูมิภาคและความเป็นเมือง (๕) การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (๖) การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ |
(๕) |
|
ประเด็น การพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
๕.๖ โครงการมีความสอดคล้อง
๕.๗ โครงการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด
๕.๘ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนหรือการเสริมสร้างให้ประเทศชาติมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้หลักประชารัฐ ๕.๙ งบประมาณมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย(ผลผลิตของโครงการ) ๕.๑๐ มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณ |
โครงการมีลักษณะหรือสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value-Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทำน้อย ได้มาก เช่น (๑) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม (๒) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วนเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (๓) เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น รวมถึงโครงการที่เติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนาแล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ เช่น ด้านการเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ สาธารณสุข วัฒนธรรม ฯลฯ |
(๕) |
๕ |
โครงการพัฒนาท้องถิ่นมีความสอดคล้องกับห้วงระยะเวลาของแผนพัฒนาจังหวัดที่ได้กำเนิดขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นเสมือนหนึ่งการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด ซึ่งไม่สามารถแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันได้ นอกจากนี้โครงการพัฒนาท้องถิ่นต้องเป็นโครงการเชื่อมต่อหรือเดินทางไปด้วยกันกับยุทธศาสตร์จังหวัดที่ได้กำหนดขึ้นเป็นปัจจุบัน |
(๕) |
๕ |
|
เป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้พื้นฐานความพอเพียงที่ประชาชนดำเนินการเองหรือร่วมดำเนินการ เป็นโครงการต่อยอดและขยายได้ เป็นโครงการที่ประชาชนต้องการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งมีลักษณะที่จะให้ท้องถิ่นมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นท้องถิ่นที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
(๕) |
๕ |
|
งบประมาณโครงการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๕ ประการในการจัดทำโครงการได้แก่ (๑) ความประหยัด (Economy) (๒) ความมีประสิทธิภาพ (Effciency) (๓) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) (๔) ความยุติธรรม (Equity) (๕) ความโปร่งใส (Transparency) |
(๕) |
๕ |
|
การประมาณราคาเพื่อการพัฒนาต้องให้สอดคล้องกับโครงการถูกต้องตามหลักวิชาการทางช่าง หลักของราคากลาง ราคากลางท้องถิ่น มีความโปร่งใสในการกำหนดราคาและตรวจสอบในเชิงประจักษ์ |
(๕) |
๕ |
ประเด็น การพิจารณา |
รายละเอียดหลักเกณฑ์ |
คะแนนเต็ม |
คะแนนที่ได้ |
๕.๑๑ มีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ
๕.๑๒ ผลที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ |
มีการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน (Key Performancy Indicator : KPI) ที่ สามารถวัดได้ (measurable) ใช้บอกประสิทธิผล (effectiveness) ใช้บอกประสิทธิภาพ (efficiency) ได้ เช่น การกำหนดความพึงพอใจ การกำหนดร้อยละ การกำหนดอันเกิดจากผลของวัตถุประสงค์ที่เกิดที่สิ่งที่ได้รับ (การคาดการณ์ คาดว่าจะได้รับ)
|
(๕) |
|
ผลที่ได้รับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงจากการดำเนินการตามโครงการพัฒนาซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การได้ผลหรือผลที่เกิดขึ้นจะต้องเท่ากับวัตถุประสงค์หรือมากกว่าวัตถุประสงค์ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึง (๑) มีความเป็นไปได้และมีความเฉพาะเจาะจง ในการดำเนินงานตามโครงการ (๒) วัดและประเมินผลดับของความสำเร็จได้ (๓)ระบุสิ่งที่ต้องการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุดและสามารถปฏิบัติได้ (๔) เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับความเป็นจริง (๕) ส่งผลต่อการบ่งบอกเวลาได้
|
(๕) |
|
|
รวมคะแนน |
๑๐๐ |
|
๔.๓ สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในภาพรวม
|
ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ.๒๕๖๑–๒๕๖๕) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเป็นแนวทางในการบริหารพัฒนาท้องถิ่นให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนก่อให้เกิดประโยชน์และสามารถตอบสนองความต้องการพัฒนาของประชาชน โดยพิจารณาบรรจุโครงการในงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และงบประมาณจากเงินสะสม โดยจะต้องมีการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นการสรุปผลในภารวมของท้องถิ่น เป็นการติดตามผลการนำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าเกิดผลทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ อย่างไร ซึ่งสามารถวัดผลได้ทั้งเชิงสถิติต่างๆ ตาราง กราฟ และการพรรณนา ดังนี้
(๑) การวัดผลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
(๑.๑) การวัดผลในเชิงปริมาณ (Quantity)
- โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลในเชิงปริมาณ มีดังนี้
รายงานแผน 5 ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2565
อบต.นาเจริญ
งาน |
หมวดรายจ่าย |
ประเภทรายจ่าย |
โครงการ |
ปี 2561 |
ปี 2562 |
ปี 2563 |
ปี 2564 |
ปี 2565 |
project_id |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
งบกลาง |
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม |
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม |
250,000.00 |
245,000.00 |
260,000.00 |
0.00 |
0.00 |
793194 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
งบกลาง |
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ |
โครงการจัดสรรเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการผู้ติดเชื้อเอดส์ |
0.00 |
2,000,000.00 |
2,000,000.00 |
2,000,000.00 |
2,000,000.00 |
632701 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
งบกลาง |
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ |
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ |
6,327,600.00 |
6,756,000.00 |
7,725,600.00 |
0.00 |
0.00 |
793595 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
งบกลาง |
เบี้ยยังชีพความพิการ |
เบี้ยยังชีพผู้พิการ |
1,766,400.00 |
1,852,800.00 |
1,939,200.00 |
0.00 |
0.00 |
794080 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
งบกลาง |
เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ |
เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ |
90,000.00 |
108,000.00 |
132,000.00 |
0.00 |
0.00 |
794258 |
รวมหมวดงบกลาง |
8,434,000.00 |
10,961,800.00 |
12,056,800.00 |
2,000,000.00 |
2,000,000.00 |
||||
งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อสิ่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยใน สังกัด อบต.นาเจริญ |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
10,000.00 |
10,000.00 |
2998668 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการขยายและปรับปรุงเครือข่าย อินเตอร์เน็ต |
0.00 |
40,000.00 |
10,000.00 |
0.00 |
0.00 |
634353 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันกีฬาเด็กเยาวชนและประชาชนต้านยาเสพติด |
180,000.00 |
200,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
692815 |
งานกีฬาและนันทนาการ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันกีฬาเด็กเยาวชนและประชาชนต้านยาเสพติด |
0.00 |
0.00 |
150,000.00 |
150,000.00 |
150,000.00 |
631288 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันกีฬาวอลเล่ย์บอลต้านยาเสพติด |
0.00 |
0.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
2308324 |
งานกีฬาและนันทนาการ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์สถานศึกษาในสังกัดอบต.นาเจริญ |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
50,000.00 |
2999474 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันฟุตซอลต้านยาเสพติด |
0.00 |
0.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
2308073 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันฟุตซอลต้านยาเสพติด |
0.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
693045 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการแข่งขันวอลเลย์บอลต้านยาเสพติด |
0.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
693150 |
งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการค่าใช้จ่ายในโครงการอบรมสัมมา |
0.00 |
0.00 |
66,000.00 |
66,000.00 |
66,000.00 |
2280204 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเลือกตั้งทุกระดับ |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
450,000.00 |
450,000.00 |
2677032 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเลือกตั้งทุกระดับ |
520,000.00 |
0.00 |
500,000.00 |
500,000.00 |
500,000.00 |
613861 |
งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดงานประเพณีท้องถิ่น |
60,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
786535 |
งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดงานประเพณีท้องถิ่น |
0.00 |
40,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
693556 |
งานศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่น |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดงานประเพณีท้องถิ่น |
0.00 |
140,000.00 |
140,000.00 |
140,000.00 |
140,000.00 |
631720 |
งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ |
0.00 |
50,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
693383 |
งานศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่น |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ |
0.00 |
0.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
631568 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดงานประเพณีสำคัญทางราชการ |
0.00 |
0.00 |
150,000.00 |
150,000.00 |
150,000.00 |
631432 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดซื้อประตูฟุตบอล |
0.00 |
0.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
0.00 |
2307939 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียน |
0.00 |
400,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
696079 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
0.00 |
11,465.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
696572 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดทำระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล |
40,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
761192 |
งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดนิทรรศการผลงานทางวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.นาเจริญ |
0.00 |
15,000.00 |
10,000.00 |
10,000.00 |
10,000.00 |
691425 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดประชุมระดมความคิดการจัดทำแผนระดับหมู่บ้านและตำบล |
0.00 |
12,000.00 |
15,000.00 |
15,000.00 |
15,000.00 |
613408 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนระดับตำบล |
18,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
781571 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์กีฬาให้กับศูนย์กีฬาหมู่บ้าน |
0.00 |
0.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
627663 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจัดหาวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ |
0.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
100,000.00 |
625818 |
การรักษาความสงบภายใน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาล |
0.00 |
20,000.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
622750 |
งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า |
0.00 |
30,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
692441 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการติดต่อสื่อสารและรับส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
2,000.00 |
2,000.00 |
2637456 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการติดต่อสื่อสารและรับส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
2,000.00 |
2,000.00 |
2630197 |
งานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาผักตบชวา |
30,000.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
725374 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการประเพณีท้องถิ่นแข่งขันเรือ (เรือแทงกบ) |
0.00 |
0.00 |
50,000.00 |
50,000.00 |
50,000.00 |
2308906 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของ อบต.นาเจริญ |
0.00 |
0.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
634166 |
งานบริหารทั่วไป |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการปรับปรุงแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน |
0.00 |
0.00 |
0.00 |
30,000.00 |
30,000.00 |
2999696 |
งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ |
0.00 |
0.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
1593588 |
งานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ |
0.00 |
0.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
20,000.00 |
2636510 |
งานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ |
ค่าใช้สอย |
รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่น ๆ |
โครงการปลูกป่าอนุรั |